Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/441
Title: การพัฒนาทักษะชีวิตประจำวันของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยวิธีการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน ที่เน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัว
Other Titles: Development of Daily Life Skills of the Educable Mentally Retarded Children Through Task Analysis Training Approach Focusing on School and Family Cooperation
Authors: ปัญญาโกญ, กาญจน์ณภัทร
Panyakon, Kannapat
Keywords: การพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน
Development of Daily Life Skills
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้
the Educable Mentally Retarded Children
วิธีการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน
Task Analysis Training
Issue Date: 30-Apr-2007
Publisher: Chiang Mai University
Abstract: This research aims to 1) develop activity plans for daily life skill training in three aspects: self-assistance skills, family helping skills, and skills in effective use of leisure time, using task analysis principles, for the educable mentally retarded children; 2) study the outcomes of the activity plan implementation in terms of development of the daily life skills together with social and emotional skills; 3) study the participation of the caretakers in the children’s families in the training process. The experimental cases are three educable mentally retarded children attending Wat Chang Kien School, Office of Chiang Mai Educational Service Area 1, during the academic year 2007. They are purposively selected using the specific selection criteria. Three caretakers in these children’s families also take parts in this study. The tools used in this research are composed of the tools for selecting the children as the experimental cases which include the survey forms of daily life skills on the three aspects, the interviews with the caretakers in the families, the behavior records on the children’s basic capabilities as shown in their progress reports, and the observation forms of the children’s daily life skills. The tools used for the development of the children are the activity plans designed by using forward chaining task analysis principles for training skills of tying the shoelace, skills of laundry, skills of painting and creating sculptures with artificial clay. The tools used for data collection during and after the experiment are the behavior observation forms for the children’s daily life skills on the three aspects and the interview form to be used with the caretakers in the children’s families. The data were analyzed using frequency (f), means ( ), the evaluative comparison between the observed results and the set criteria of success, and content analysis. Research Findings 1. For the development of the activity plans to be used for training of the three daily life skills, the researcher firstly developed original or master plans each with equal steps for all three children. These are used in the workshop for assistant researchers and the caretakers in the families so that they gain knowledge and understanding in training according to the task analysis principles and as a result, are able to correctly train the children in the same direction. However, when implementing the activity plans among the mentally educable retarded children who are the experimental cases, the findings show that the plans need more flexibility, further adjustments, additions or reductions for certain procedures of each task to make the training steps more appropriate to the potentials of each child. 2. The results of using the developed activity plans on the training of the three daily life skills by using the task analysis principles with forward chaining point out that the developed activity plans can help the experimental children gain the three daily life skills. All of them are able to pass the success criteria at Level 4, which means they can accomplish the tasks correctly without help for three times consecutively. Each of the samples, however, needs different length of time and frequencies of practices. The total period of times for the training stands between three and five months depended on potential differences among the children, the levels of cooperation during training, and the intensity levels of the use of media, techniques and the reinforcements by the caretakers in the families. When testing the abilities of the three daily life skills of the children one week after they finish the training, the researcher finds that the samples can perform all the tasks related to the skills they have learned. In terms of the outcomes relating to the development of social skill and emotional control of the children, the research shows that these children have better development, which appears in their higher level of confidence and concentration in working on the tasks. They dare to ask questions or talk to the trainers or teachers, and some of them can advise their friends with special needs in practicing the daily life skills, and as the result, they gain better acceptance among their friends. 3. The observation on the caretakers’ participation in the training of the three daily life skills for these children reveals that the caretakers from the three families offer cooperation in constructing the activity plans, participate in the training, make necessary adjustments for the plan, and join the evaluation sessions. These caretakers participate in the sessions by sharing their learning, adjusting the training methods and giving their reflections on the lessons fully with trust. It is an important factor that influences the success of the training of the three daily life skills for children with educable mental retardation status in this research. This research produces deeper understanding for the teachers and children’s caretakers in the families about the potentials of the educable mentally retarded children. The teachers and caretakers perceive the importance of developing the children through full cooperation with relevant sectors especially the schools and the families, the importance of accepting opinions of every participant as well as giving or sharing information to others, openly providing the chances for the caretakers to participate in identifying the training objectives, learning contents, and adjustment of activities and training steps. Besides, to give successful training, emphasis must be put on repetitive training, revisions of the previous learning steps with children’s actual performance every time before next training steps, continuous measurement and evaluation, usage of concrete media as well as usage of familiar things and the rehearsal of many techniques in training including positive reinforcement that correspond to the needs and preferences of each individual child. More importantly, this research builds the awareness among the caretakers of the families for the possible development of the children. They have pride and good feeling to be parts of this research, and are happy to be the leaders in promoting cooperation between the schools and the families for further development of the children.
Description: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวัน ด้านทักษะการช่วยเหลือตนเอง ทักษะการช่วยเหลือครอบครัว และทักษะการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ โดยใช้หลักการวิเคราะห์งาน 2) ศึกษา ผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ที่มีต่อพัฒนาการด้านทักษะชีวิตประจำวัน สังคม และอารมณ์ของเด็ก และ3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัว ในการพัฒนาทักษะชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ กลุ่มทดลองได้แก่ เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ซึ่งเป็นนักเรียน ที่เรียนร่วมอยู่ในโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 1 ในปีการศึกษา 2550 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจำนวน 3 คน และผู้ดูแลเด็กในครอบครัวของเด็กทั้ง 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการคัดเลือกเด็กที่เป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ แบบสำรวจทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว แบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถเบื้องต้นจากรายงานพัฒนาการก้าวหน้า และแบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเด็กได้แก่ แผนกิจกรรมการฝึกที่พัฒนาโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า (Forward Chaining) สำหรับการฝึกทักษะการร้อยและผูกเชือกรองเท้า การฝึกทักษะการซักเสื้อผ้า การฝึกทักษะการระบายสีภาพ และการปั้นดินน้ำมัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างและหลังทดลอง ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ และแบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กในครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจงความถี่ (ƒ) และค่าเฉลี่ย ( ) การเทียบกับเกณฑ์ การประเมินความสำเร็จ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย 1. การพัฒนาแผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ ผู้วิจัยพัฒนา แผนต้นแบบ ซึ่งมีขั้นตอนการวิเคราะห์งานในแต่ละทักษะเท่ากันสำหรับเด็กทั้ง 3 คน เพื่อใช้เป็น แผนกลางในการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ช่วยผู้วิจัย และผู้ดูแลเด็กในครอบครัว ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการฝึกตามหลักการวิเคราะห์งาน สามารถนำแผนต้นแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ใน การฝึกกับเด็กได้ถูกต้องตามขั้นตอน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำแผนต้นแบบไปใช้ฝึกกับเด็กกลุ่มทดลองแล้วพบว่า จำเป็นต้องยืดหยุ่น ปรับแก้ โดยการปรับเพิ่มขั้นตอนและปรับลดขั้นตอนการวิเคราะห์งาน เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคน 2. ผลการใช้แผนกิจกรรมการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะที่ได้พัฒนาขึ้นโดยใช้หลักการวิเคราะห์งานแบบก้าวไปข้างหน้า พบว่า แผนกิจกรรมการฝึกที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนา เด็กกลุ่มทดลองให้มีทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะ จนผ่านเกณฑ์ระดับ 4 ทุกคนคือ ทำได้ถูกต้อง โดยไม่ต้องช่วยเหลือ ติดต่อกัน 3 ครั้ง แต่ใช้เวลาและจำนวนครั้งในการฝึกไม่เท่ากัน รวมระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกทั้งสิ้น 3-5 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในด้านศักยภาพของเด็ก ความร่วมมือ ในการฝึก ตลอดจนการใช้สื่อ เทคนิคต่างๆ และแรงเสริมของผู้ดูแลเด็กในครอบครัว เมื่อทดสอบความสามารถด้านทักษะชีวิตประจำวัน ทั้ง 3 ทักษะหลังดำเนินการฝึกเสร็จสิ้นแล้ว 1 สัปดาห์ พบว่า เด็กกลุ่มทดลองทุกคนสามารถปฏิบัติทักษะที่ผ่านมาได้ทุกทักษะ ส่วนผลที่มีต่อพัฒนาการด้านสังคม และอารมณ์ของเด็กกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนนั้น พบว่า เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นกล่าวคือ มีความมั่นใจ และมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น กล้าซักถาม พูดคุยกับครู และเด็กบางคนสามารถแนะนำ หรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนที่มีความต้องการพิเศษในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันได้ ทำให้ได้รับการยอมรับจากเพื่อนมากขึ้น 3. ในเรื่องการมีส่วนร่วมในการฝึกทักษะชีวิตประจำวันทั้ง 3 ทักษะของผู้ดูแลเด็กในครอบครัว พบว่า ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวทั้ง 3 ครอบครัวให้ความร่วมมือในการวางแผนกิจกรรม ร่วมฝึก ร่วมพัฒนาแผน และร่วมประเมินผล โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมปรับวิธีการฝึกให้เหมาะสม และร่วมสะท้อนบทเรียนอย่างจริงใจ ด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการฝึกทักษะชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ครั้งนี้ การวิจัยครั้งนี้มีผลทำให้ครู และผู้ดูแลเด็กในครอบครัว มีความเข้าใจเกี่ยวกับศักยภาพของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้มากขึ้น โดยเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายโดยเฉพาะโรงเรียนและครอบครัว เห็นความสำคัญของการยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การให้ข้อมูลแก่กันอย่างเปิดเผย การเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาในการเรียนรู้ ปรับกิจกรรมและขั้นตอนการฝึก ให้ความสำคัญกับการฝึกซ้ำๆ และมีการทบทวนขั้นที่ผ่านมา โดยให้เด็กปฏิบัติเองทุกครั้งก่อนฝึกขั้นตอนใหม่ การวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง การใช้สื่อ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ใช้สิ่งที่ใกล้ตัวและสิ่งที่เด็กคุ้นเคย และเทคนิคต่างๆ ในการฝึก รวมทั้งการให้แรงเสริมทางบวกที่สอดคล้องกับความต้องการและความชื่นชอบของเด็กเป็นรายบุคคล ที่สำคัญการวิจัยครั้งนี้ทำให้ผู้ดูแลเด็กในครอบครัวเกิดความตระหนักในการพัฒนาเด็กมากขึ้น ตลอดจน มีความภาคภูมิใจและมีความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่ง หรือร่วมเป็นเจ้าของงานวิจัยครั้งนี้ และยินดีในการเป็นแกนนำในการประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวในการพัฒนาเด็ก ด้านอื่นๆ ต่อไป
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/441
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf806.07 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.