Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเสาวลักษณ์, คำลาพิศ-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.coverage.spatialแม่ฮ่องสอนth_TH
dc.date.accessioned2023-01-17T04:32:08Z-
dc.date.available2023-01-17T04:32:08Z-
dc.date.created2566-01-17-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2333-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน และเพื่อสร้างแนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามกระบวนการบริหารแบบ POLC ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น 1) แบบสอบถาม 2) ประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม และ 3) แบบประเมินแนวทางการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยการหาค่าทางสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และบรรยายในรูปแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLC มีระดับการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง 2. แนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLC ผู้วิจัยนำประเด็นสำคัญมาสรุป ดังนี้ 1) ด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผนการวิจัยในชั้นเรียน กำหนดนโยบายอย่างชัดเจน จัดทำแผนปฏิบัติการงานวิจัย กำหนดให้งานวิจัยอยู่ในโครงสร้างการบริหารงาน กำหนดผู้รับผิดชอบและคณะกรรมการ การจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานวิจัยของสถานศึกษาและวางแผนการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและรายงานผล อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง 2) ด้านการสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัยในชั้นเรียน กำหนด/วางแผนการสร้างบรรยากาศและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการวิจัยในชั้นเรียน อำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ สร้างความตระหนัก แรงจูงใจ มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือกันในการทำวิจัยในชั้นเรียนร่วมกันและมีการจัดแสดงนิทรรศการภายในสถานศึกษา 3) ด้านให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน จัดทำโครงการ/กิจกรรมงานวิจัย กำหนดรูปแบบในการพัฒนาครู การจัดกิจกรรมให้ครูได้ฝึกทักษะ การให้คำปรึกษา คำแนะนำ การนิเทศและให้คำปรึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมาย ประเมินผลและรายงานผล 4) ด้านการสนับสนุนงบประมาณการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู กำหนดงบประมาณภายใต้โครงการวิจัยในชั้นเรียนและอย่างชัดเจน จัดหา ระดมทุน จากหน่วยงานภายนอก จัดสรรงบประมาณให้กับครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และกำกับ ติดตามและรายงานผลการใช้งบประมาณในการทำวิจัยในชั้นเรียน 5) ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าและการให้ความยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน วางแผนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ครูถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนครูและผู้ปกครองนักเรียน สร้างขวัญและกำลังใจ ให้การยอมรับความสามารถของครูและมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างหลากหลายth_TH
dc.format.mediumPDFth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุดth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectศูนย์การศึกษาพิเศษ -- การบริหาร -- แม่ฮ่องสอนth_TH
dc.subjectการศึกษา -- การบริหาร -- แม่ฮ่องสอนth_TH
dc.subjectวิจัยชั้นเรียนth_TH
dc.subject.ddc371.2th_TH
dc.titleแนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLCth_TH
dc.title.alternativeThe Classroom Research Promotion Guidelines Based on the POLC Management Process of the Special Education Center in Mae Hong Son Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.advisorสมเกตุ, อุทธโยธา-
dc.thesis.degreenameMaster of Educationth_TH
dc.thesis.levelMasterth_TH
dc.thesis.disciplineEducational Administrationth_TH
dc.identifier.callnumberวพ 371.2-
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เสาวลักษณ์ คำลาพิศ_2563.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.