Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2331
Title: การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพิ้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Learning Resource Management of Highland Ethnic Groups at Ban Pang Mayao School in Chiang Dao District, Chiang Mai Province
Authors: ศุภมาส, เสนธรรม
จักรปรุฬห์, วิชาอัครวิทย์
Keywords: โรงเรียนบ้านปางมะเยา -- การบริหาร -- เชียงดาว (เชียงใหม่)
การศึกษา -- การบริหาร -- เชียงดาว (เชียงใหม่)
กลุ่มชาติพันธุ์ -- เชียงดาว (เชียงใหม่)
แหล่งเรียนรู้
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Abstract: วัตถุประสงค์ของ งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นี้เพื่อ 1) ศึกษาวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพนัธุ์บนพื้นที่สูงในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนบา้นปางมะเยา 2) สร้างแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา 3) จัดทำคู่มือการบริหารจัดการ แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 1. วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนที่สูงในเขตพ้ืนที่บริการของโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยป่า ทั้งการหาอาหาร และพื้นที่ทำกิน มีความเป็นอยู่ที่เกื้อกูลกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเคารพนับถือกัน มีความรักใคร่ปรองดอง ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ในด้านศาสนา ความเชื่อ พิธีกรรม มีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยบรรพบุรุษที่มีการรับวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้ามา วัฒนธรรมประเพณี ที่จัดข้ึนก็ลดน้อยลงกว่าสมยับรรพบุรุษ รวมถึงการแต่งกายประจำชาติพันธุ์ก็จะสวมใส่ในช่วงที่มี พิธีกรรมสำคัญ เท่าน้้น 2. การสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพนัธุ์บนพ้ืนที่สูงในโรงเรียนบา้นปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการที่จะสร้าง แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในโรงเรียน 2) ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการ วางแผนออกแบบแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนที่สูงที่ตรงกับความตอ้งการและ เหมาะส าหรับผู้เข้าใช้บริการ 3)ครู นักเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องลงความเห็นและแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในการร่วมกันสร้างแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนที่สูง4) ครูได้ใช้แหล่งเรียนรู้วิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนที่สูงที่เป็นแบบวิถีชีวิตจริงและแบบจัดแสดงวัตถุข้าวของเครื่องใช้เพื่อ บูรณการไปสู่การจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาติพันธุ์ของตนเองและ ของผู้อื่น เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่ งกันและกัน เข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและ กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม (Cross-cultural Understanding) 3. การจัดท าคู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพนัธุ์บนพ้ืนที่สูง ในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อ าเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยขอ้ มูลทวไปของโรงเรียน ั่ บ้านปางมะเยา วัตถุประสงค์ของการจัดท าคู่มือบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โครงสร้างและหน้าที่ รับผิดชอบของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติ พันธุ์ลีซูวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า วิถีชีวิตของกลุ่มคนพ้ืนเมือง และการบูรณการแหล่งเรียนรู้สู่การจัดการเรียนการสอน พบว่า คู่มือการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์บนพ้ืนที่สูงในโรงเรียนบ้านปางมะเยาอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สามารถใช้เป็ นแนวทางในการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพนัธุ์บนพ้ืนที่สูง ให้เป็น ศูนย์กลางในการเรียนรู้ สร้างความภูมิใจแก่ชาติพันธุ์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านปางมะเยา อำเภอเชียงดาว จังหวดัเชียงใหม่อย่างยั้งยืน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2331
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ศุภมาส เสนธรรม_2563.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.