กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2330
ชื่อเรื่อง: แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Administration Learning Management Guideline of Banmaekonnai School, Chiang Dao District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี, กันทะปิง
สายฝน, แสนใจพรม
คำสำคัญ: โรงเรียนบ้านแม่กอนใน -- การบริหาร -- เชียงดาว (เชียงใหม่)
การจัดการเรียนรู้
การศึกษา -- การบริหาร -- เชียงดาว (เชียงใหม่)
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เสนอแนะแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการ วิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนบ้านแม่กอนใน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูลการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีระดับการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการบริหารน้อย คือ ด้านหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านสื่อและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และด้านครูผู้สอน ตามลำดับ 2. แนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านแม่กอนใน อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 2.1 ด้านหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ ควรประชุมวางแผนวิเคราะห์หลักสูตร จัดหาวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาอบรมให้ความรู้แก่ครู ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผล การใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการทั้งในและนอกสถานศึกษา วิเคราะห์จุดดี จุดด้อยของหลักสูตร เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่ดีและทันสมัยอย่างน้อยปีละครั้ง 2.2 ด้านครูผู้สอน ควรจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและสมรรถนะของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภายในโรงเรียนและระหว่างโรงเรียน จัดหาตัวอย่างการพัฒนาวิชาชีพครูในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ จัดประชุมเพื่อสะท้อนผลการพัฒนาตนเองของครู 2.3 ด้านสื่อและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ ควรชี้แจงการกำหนดนโยบายให้ครูผลิต ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาครูด้านการผลิตสื่อ ใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ประชุมเพื่อให้ครูสะท้อนผลการใช้สื่อ และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ 2.4 ด้านแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรวางแผนจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยประสานความร่วมมือกับชุมชน เชิญปราชญ์ชาวบ้านนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ นำเทคโนโลยีมาใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ผลงาน/นวัตกรรมที่เกิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านสื่อสังคมแห่งการเรียนรู้ ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้โดยมีตัวแทนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จัดนำเสนอผลงาน/นวัตกรรมที่เกิดจากการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2330
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
สุวรรณี กันทะปิง_2562.pdf6.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น