กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2294
ชื่อเรื่อง: รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Transformational Leadership Model for Resource and Environmental Management of Green Economy Community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พุทธินันทน์, บุญเรือง
ณัฐิยา, ตันตรานนท์
สมเกตุ, อุทธโยธา
สำเนา, หมื่นแจ่ม
คำสำคัญ: ทรัพยากรธรรมชาติ--การจัดการ--อุตรดิตถ์
สิ่งแวดล้อม--การจัดการ--อุตรดิตถ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารและปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) พัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ และ 3) ประเมินรูปแบบภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้นำชุมชน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มย่อย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า 1. ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว จะต้องมีองค์ประกอบ 7 ด้าน ได้แก่ การเป็นแบบอย่างที่ดี การสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้น ใช้ปัญญา การคำนึงถึงปัจเจกบุคคล ความคิดสร้างสรรค์ และการมีอุดมการณ์ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียว ในจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย ด้านการสื่อสารมวลชน ด้านจิตสำนึก ด้านเศรษฐกิจ ด้านประชากร ด้านนิเวศวิทยา ด้านการรับรู้ข่าวสาร ด้านนโยบาย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสังคม ด้านความตระหนัก ด้านทัศนะคติ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดการ 3. รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ “MAEPHUN – Model” ประกอบด้วย การบริหารจัดการทรัพยากรที่หลากหลาย (Multi Management) การสร้างความตระหนัก (Awareness) ระบบนิเวศบริการ (Ecosystem Service) การโน้มน้าว (Persuade) การพัฒนาถิ่นที่อยู่อาศัย (Habitat) การใช้ประโยชน์สูงสุด (Utility) การเชื่อมโยงเครือข่าย (Network Connect) 4. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของชุมชนเศรษฐกิจสีเขียวในจังหวัดอุตรดิตถ์ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น หรือ “MAEPHUN – Model” มีความสำคัญ โดยเฉพาะผู้นำที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายวิธีการ เพราะปัจจุบันไม่ค่อยเห็นความสำคัญเท่าที่ควรและการเอาใจใส่ ต่อสิ่งแวดล้อม รูปแบบที่พัฒนาขึ้นถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรดำเนินการ อีกทั้งในชุมชนพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์มีต้นทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากอยู่แล้ว แต่ขาดการบริหารจัดการที่ดี หากสามารถดำเนินการบริหารจัดการหรือมีรูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ก็จะสามารถพัฒนา สู่ความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2294
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
พุทธินันท์ บุญเรือง_2562.pdf3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น