Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2266
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดวงกมล, อิริยา-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.coverage.spatialเชียงใหม่th_TH
dc.coverage.spatialดอยสะเก็ด (เชียงใหม่)th_TH
dc.date.accessioned2022-06-21T01:35:02Z-
dc.date.available2022-06-21T01:35:02Z-
dc.date.created2565-06-21-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2266-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านบ่อหิน ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนที่มีการปฏิบัติที่ดี และ 3) จัดทำแนวทางการพัฒนาคุณภาพ การจัดศึกษาแบบเรียนรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย บุคลากรของโรงเรียน บ้านบ่อหิน จำนวน 14 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 54 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรวม จำนวน 3 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านบ่อหิน ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การจัดการเรียนรวมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) โดยรวมมีการปฏิบัติ/เป็นจริงอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ด้านนักเรียน (Student : S) ด้านเครื่องมือ (Tool : T) ด้านสภาพแวดล้อม (Environment : E) และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (Activity : A) 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมจากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ด้านการจัดการเรียนรวม พบว่า 1) ด้านนักเรียน มีระบบการคัดกรอง การเรียนปรับพื้นฐาน มีการจัดห้องเรียนชั้นพิเศษ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และการประเมินที่สอดคล้องกับแผน IEP 2) ด้านสภาพแวดล้อม การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ มีการจัดทำห้องเรียนคู่ขนาน ห้องการศึกษาพิเศษ ปรับปรุงสถานที่ เช่น ทางลาด ทางเชื่อม ให้สะดวก ปลอดภัย มีการชี้แจงผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ที่เหมาะสม ให้นักเรียนมีส่วนร่วม การใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนา เน้นกระบวนการคิดและการลงมือปฏิบัติจริง มีการตรวจสอบและประเมินความรู้ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 4) ด้านเครื่องมือ เครื่องมือในการบริหารจัดการ คือ ระบบ IEP ออนไลน์และระบบ SET เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ คอมพิวเตอร์ สื่อเฉพาะของนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งมีทั้งสื่อที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐและสื่อประดิษฐ์ 3. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านบ่อหิน ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 1) ด้านนักเรียน มีการส่งเสริมเจตคติที่ดี การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสอนทักษะการป้องกันตนเอง 2) ด้านสภาพแวดล้อม ปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสม จัดสื่อและครูผู้สอนเฉพาะ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับบุคคลภายนอก 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่น จัดกิจกรรมซ่อมเสริมและสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน 4) ด้านเครื่องมือจัดบริการให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีให้ง่ายขึ้น จัดกิจกรรมบำบัด และจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น จากการตรวจคุณภาพแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม 4 ด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดth_TH
dc.format.mediumPDFth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุดth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectการศึกษาแบบเรียนรวมth_TH
dc.subjectการเรียนรวมของเด็กพิเศษth_TH
dc.subjectโรงเรียนบ้านบ่อหิน -- การบริหาร -- ดอยสะเก็ด (เชียงใหม่)th_TH
dc.subject.ddc371.3th_TH
dc.titleแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของโรงเรียนบ้านบ่อหิน ตำบลตลาดขวัญ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeGuidelines for Inclusive Educational Quality Development of Ban Bo Hin School in Tambon Talat Khwan, Doi Saket District, Chiang Mai Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.advisorสมเกตุ, อุทธโยธา-
dc.thesis.degreenameMaster of Educationth_TH
dc.thesis.levelMasterth_TH
dc.thesis.disciplineEducational Administrationth_TH
dc.identifier.callnumberวพ 371.3 ด17น-
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ดวงกมล อิริยา_2563.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.