Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2187
Title: การสำรวจและพัฒนาแหล่งดินเพื่อใช้ผลิตเซรามิกในชุมชนอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Surveying and Development of Clays Source for Ceramic Manufacturing in Intakhil Community, District of Maetaeng, Chiang Mai Province
Authors: บุญแจ้ง, สมศักดิ์
BOONJAENG, SOMSAK
Keywords: วัตถุดิบ
ดินเหนียว
เซรามิก
เครื่องปั้นดินเผา
เตาเผา
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The research aim is to study on surveying and development of clays source for ceramic manufacturing in Intakhil community, district of Maetaeng, Chiang Mai province. The surveying of clay samples was 45 points to study on characteristics and properties. The sieve residue of 100 mesh was highest with a lot of coarse particles at higher than 150 m. The average water content, shrinkage, and green strength of clay samples were 29.48%, 7.05% and 6.13 Kg/cm2, respectively. The 9 zones of clay samples were divided to characterize and developing to be ceramic bodies. The ceramic body formulations were Intakhil 1-9. The major chemical compositions of ceramic bodies were similar in SiO2 and Al¬2O3. Fe2O3 was found with high content, shown as a fluxing agent. The major mineralogical composition was quartz in form of sand particles. Magnetite and Kaolinite were found as the minor phase. The low plastic index of bodies was obtained which showed that low plasticity. However, they could be formed to shaping with low shrinkage and low green strength. The bodies were fired at 800-1250oC in an oxidizing atmosphere. At high temperatures, the fried strength and density of bodies increased with low water absorption. The orange brick color was found at 800oC and 1000oC. At 1250oC, the color appeared as deep brown (Intakhil 2, 5 and 6), grayish yellow (Intakhil 1, 3, 4, 7 and 8) and light yellow (Intakhil 9). The different colors were the results of the oxide content of and Fe2O3 (brown), TiO2 (yellow) and MnO (gray and black). The added ball clay of 10-30wt% of raw material compositions (Intakhil and ball clay) was used for treating the characteristics and properties of bodies viz. plasticity, strength, water absorption and color. It was found that high plasticity and strength were obtained with low water absorption. The color was in a light tone. The ceramic bodies could be formed by free hand, throwing and press mold with plastic properties.
Description: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจและพัฒนาแหล่งดินเพื่อใช้ผลิตเซรามิกในชุมชนอินทขิลอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ในการสำรวจแหล่งดิน ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจแหล่งดินในพื้นที่ ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการสำรวจแหล่งดินทั้งหมด 45 จุด และทำการศึกษาลักษณะเฉพาะและสมบัติของดิน พบว่า ดินที่สำรวจมีร้อยละของกากค้างตะแกรงขนาด 100 เมช สูง ซึ่งเป็นอนุภาคของทรายที่มีขนาดใหญ่กว่า 150 ไมโครเมตร (m) มีความชื้นที่ทำให้เกิดสภาวะเหนียวและขึ้นรูปได้เฉลี่ยที่ร้อยละ 29.48 มีค่าการหดตัวเฉลี่ยหลังแห้งร้อยละ 7.05 และความแข็งแรงเฉลี่ย 6.13 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ดินที่สำรวจได้สามารถแบ่งออกเป็นโซนได้ 9 โซน เพื่อพัฒนาเป็นเนื้อดินสำหรับใช้ผลิตเซรามิก โดยกำหนดชื่อเป็น Intakhil 1-9 พบว่า เนื้อดินมีองค์ประกอบทางเคมีที่คล้ายกัน แต่มีปริมาณขององค์ประกอบที่แตกต่างกัน โดยมี ซิลิกา (SiO2) และ อะลูมินา (Al2O3) เป็นองค์ประกอบหลัก และมีองค์ประกอบที่เป็นออกไซด์อื่นที่สำคัญในการกำหนดลักษณะเฉพาะและสมบัติของเนื้อดิน ได้แก่ เหล็กออกไซด์ (Fe2O3) ซึ่งมีบทบาทเป็นตัวช่วยหลอม ผลการศึกษาองค์ประกอบทางแร่ พบว่า มีแร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ แร่ควอตซ์ (SiO2) ซึ่งอยู่ในรูปของทราย พบว่า เนื้อดินมีค่าดัชนีความเหนียวต่ำ สะท้อนให้เห็นว่ามีความเหนียวน้อย แต่สามารถขึ้นรูปได้ โดยมีพฤติกรรมการหดตัวต่ำ มีความแข็งแรงต่ำ เมื่อนำไปเผาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ในช่วง 800-1,250oC พบว่า มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น มีการดูดซึมน้ำลดลง ความหนาแน่นเพิ่ม เมื่อพิจารณาสีหลังเผาในสภาวะบรรยากาศออกซิเดชัน พบว่า ในช่วงอุณหภูมิ 800oC และ 1,000oC มีสีคล้ายกันคือสีส้มอิฐ ในขณะที่อุณหภูมิ 1,250oC เนื้อดินมีโทนสี ได้แก่ น้ำตาลเข้ม (Intakhil 2 5 และ 6) เหลืองเทา (Intakhil 1 3 4 7 และ 8) และสีเหลืองอ่อน (Intakhil 9) ซึ่งกำหนดโดยองค์ประกอบทางเคมี พบว่า Fe2O3 เป็นองค์ประกอบที่ให้สีน้ำตาลดำ TiO2 เป็นองค์ประกอบที่ให้สีเหลือง และ MnO เป็นองค์ประกอบที่ให้สีเทาถึงดำ สำหรับเนื้อดิน Intakhil 9 มีสีเหลืองอ่อน เนื่องจากมี Fe2O3 ต่ำ การนำดินดำมาผสมในเนื้อดิน Intakhil 1-9 โดยทำการผสมในสัดส่วนร้อยละ 10-30 โดยน้ำหนักขององค์ประกอบวัตถุดิบ (เนื้อดิน Intakhil และ ดินดำ) พบว่า ดินดำมีส่วนช่วยให้เนื้อดินมีความเหนียวเพิ่มขึ้น มีความแข็งแรงหลังเผาเพิ่มขึ้น และทำให้สีสว่างขึ้นหลังเผาที่อุณหภูมิ 1,250oC จากการวิจัย พบว่า เนื้อดินที่ทำการศึกษาสามารถนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกได้ สามารถขึ้นรูปโดยการอาศัยความเหนียวของเนื้อดิน เช่น การขึ้นรูปอิสระ แป้นหมุน และพิมพ์กด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2187
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)476.33 kBAdobe PDFView/Open
Bibiliography.pdfBibiliography (บรรณานุกรม)539.35 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)481.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2 (บทที่2)1.2 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3 (บทที่3)552.32 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4 (บทที่4)1.07 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapte5 (บทที่5)484.77 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)480.21 kBAdobe PDFView/Open
Cover.pdfCover(ปก)383.6 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)488.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.