กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1402
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์โดยใช้จุลินทรีย์ในการบำบัด สารเคมีจากการเกษตรที่ตกค้างในดินและการส่งเสริมการเจริญของพืช กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organic Agriculture Promotion by Using Microbes for Soil Remained Agricultural Chemicals Remediation and Their Plant Growth Promotions, Case Study: Muang Kaen Pattana Municipality Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปมณฑ์, ภูมาศ
คำสำคัญ: การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
การบำบัด สารเคมี
เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
การส่งเสริมการเจริญของพืช
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: Chiang mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การเก็บข้อมูลการใช้สารเคมีในการควบคุมกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เทศบาลเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มเก็บข้อมูลตามพื้นที่ของเทศบาลเมืองแกนพัฒนา โดยให้กระจายครอบคลุม พื้นที่ส่วนใหญ่ โดยใช้แบบสอบถามแบบเปิดในการเก็บรวบรวมข้อมูลของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จำนวน 309 คน ลักษณะทางกายภาพและเคมีของดินที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรและใช้สารเคมีทางการเกษตร มีลักษณะทางคล้ายกัน จำนวนของจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียในดินจากแปลงข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรมีจำนวนมากกว่าจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียในดินที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างชัดเจน โดยมีจำนวนของจุลินทรีย์กลุ่มแบคทีเรียแตกต่างกันอยู่ 17.43 เท่า และแบคทีเรียในดินที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรมีความหลากหลายที่มากกว่า และเมื่อทำการวิเคราะห์ตัวอย่างดินโดยใช้ HPLC พบว่า มีการปนเปื้อนของสารพาราควอตพาราควอตมีค่า 5.47-5.61 mg/kg ไกลโฟเซต มีค่าน้อยกว่า 0.03 mg/kg และสารกลุ่มคาร์บาเมท และตรวจไม่พบสารกลุ่มคาร์บาเมท โดยแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรสามารถพบสารพารา ควอตตกค้างในดิน แม้ว่าเกษตรกรผู้ผลิตจะไม่ได้ใช้สารเคมี อาจเนื่องมาจากการปนเปื้อนจากพื้นที่ใกล้เคียงที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตร และการไหลของสารเคมีตามเส้นทางน้ำ และในอดีตมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 50 ปี จึงมีความเป็นไปได้ที่จะตรวจพบการตกค้างของสารเคมีการเกษตรตกค้างในแปลง ดังนั้นการกล่าวอ้างว่า ผลผลิตการเกษตรใดๆก็ตามว่าปลอดการปนเปื้อนจากสารเคมีจึงเป็นการกล่าวอ้างที่อาจจะเกินจริง จากนั้นได้ทำการศึกษาความสามารถย่อยพาราควอต โดยเติมพาราควอตความเข้มข้น 50 ppm เป็นแหล่งคาร์บอน เขย่าที่ความเร็วรอบ 150 รอบต่อนาที บ่มเชื้อที่ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง เก็บตัวอย่างทุก 12, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง พบว่าได้เชื้อแบคทีเรียที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูงที่สุด คือ OSV02 มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูงที่สุดเท่ากับ 44.09 ที่ระยะเวลา 72 ชั่วโมง และยังสามารถส่งเสริมการเจริญของพืชได้อีกด้วย และเมื่อทำการจำแนกชนิดแบคทีเรียโดยการใช้เทคนิคทางอณูวิทยา โดยข้อมูลของ rDNA พบว่าใกล้เคียงกับ Bacillus aryabhattai.
รายละเอียด: This study was to evaluate the effects of the agricultural chemicals usage on the environment in Muang Kaen Pattana municipality Chiang Mai province. Three hundred and nine farmers were interviewed. Data were collected by a semi-structured questionnaire. Level of agricultural chemicals residue and amount of bacteria in soil from chemical and non-chemical usage area were measured. The results of the soil samples showed that the number of bacteria from non-chemical usage area was higher than that of the chemical usage area. The nutrients in non-chemical usage area were similar to those of the chemical usage area, except potassium level was higher. The level of paraquat in chemical usage area was 5.47 mg/kg,(dw) and in non-chemical usage area was 5.61 mg/kg,(dw). The potential environmental risks of both soils classified by Hazard Quotient Equation (HQ) was rated as a moderate hazard (HQ 1.1-10). The contamination of agricultural chemicals presented in non-chemical farming may be contaminated from the rainwater. This effect counterfeit to the claim of non-chemical usage farming. Thus, the area for non-chemical usage farming should be managed to prevent this problem. Biological treatment is a process that can treat agricultural chemical contaminated in the environment. This process based on the ability of microbes in the soil to decompose agricultural chemicals and create a suitable environment for the growth of those microbes. The bacteria were sampled from Muang Kaen Pattana municipality, Chiang Mai province and screened bacterium. The potential isolates were examined for paraquat degradation by cultivation in medium contained paraquat as a sole carbon source. It was found that OSV02 isolate showed the highest growth level and highest paraquat degradability as 44.09%. Based on 16S rRNA gene sequence analysis, this isolate was identified as Bacillus aryabhattai.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1402
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover676.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract465.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent459.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-1.pdfChapter-1473.32 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-2.pdfChapter-2817.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-3.pdfChapter-3730.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-4.pdfChapter-41.24 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter-5.pdfChapter-5472.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography510.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix899.56 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น