Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1366
Title: การวิจัยเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Authors: กาญจนา, สุระ
Keywords: ต่อยอด
การเกษตรของชุมชน
ประโยชน์เชิงพาณิชย์
สาธารณะ
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในประเด็นการต่อยอดงานวิจัยภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 ตำบล 3 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชมคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติ เชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 3 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้าน การผลิต การตลาด การแปรรูปสินค้า การประชาสัมพันธ์ และการจัดการบัญชีของกลุ่ม อีกทั้งสินค้าได้มีการรับรองมาตรฐาน และตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนส่งสินค้า และสินค้าเกษตรมีความต้องการในระดับประเทศ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ กลุ่มเกษตรกรยังไม่สามารถผลิตสินค้า ในปริมาณที่มากได้ตามคำสั่งซื้อ ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านความรู้ และตลาดสินค้ามีความหลากหลายและรองรับสินค้าเกษตรของกลุ่ม ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ กลุ่มเกษตรกรมีคู่แข่งทางการตลาดจำนวนมาก จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้าง แนวทางการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งหมด 4 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ คือ งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของชุมชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ หรือนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่วนประโยชน์เชิงสาธารณะ คือ การนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนในเรื่องต่าง ๆ ที่ทำให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนดีขึ้น ดังนั้นกลุ่มเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ควรพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ และมาตรฐานให้เพิ่มขึ้นจนสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์และสาธารณะได้ อีกทั้งผู้นำกลุ่มเกษตรกรควรมีความเข้มแข็งและมุ่งมั่นในการพัฒนาต่อยอดสินค้าเกษตรของตนอยู่เสมอ มีความกระตือรือร้น ในการหาความรู้ในทุกด้านการเกษตร (ร้อยละ 30.00) รองลงมา คือ เกษตรกรควรมีความรู้เรื่อง สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ของตัวเกษตรกรเอง และการสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบธุรกิจ (ร้อยละ 20.00) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตร อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study the potentiality of agricultural communities in Chiang Mai and study guidelines to develop agriculture of communities in Chiang Mai regarding agricultural expansion for commercial and public advantage under ASEAN community. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from primary data. There are 3 groups of agriculturists whose potentialities in agriculture can expand for commercial and public advantages. Participatory action research (PAR), SWOT analysis and Michael E.Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive analysis such as means and evaluated the achievement of the development project by 6 dimensions were used to display the potentialities of agricultural groups as well as be the guidelines to expand agriculture for commercial and public advantages under ASEAN community. The research found that the strengths of these 3 groups of agriculturists were that members were specialized in production, marketing, processing, public relations and accounting. In addition, their products were certified and inspected the quality before they were delivered. These agricultural products were needed in country. Their weaknesses were that agriculturists could not make a lot of products by order. They however were supported knowledge by other organizations. Markets were various and could support their products. Their threat was that there were a lot of competitors in market. As a result, 4 issues had been created as guidelines to expand agriculture of Chiang Mai for commercial and public advantages under ASEN community. The most important was to develop and expand agriculture in Chiang Mai for commercial and public advantages. This refers to research or creative work of communities’ leaders leads to be invention or products make income or increase the efficiency of production. Public advantage is how to use research work to be useful for people which improve their quality of lives and economic. Thus they should develop their products to have quality and standard so that they can expand for commercial and public advantages. Leaders should determine to develop to expand their products continuously. They should be enthusiastic to seek for knowledge in agriculture (30.00%). Next, they should have knowledge concerning intellectual property and create the collaboration to develop and expand products for commercial and public advantages and make business be sustainable. The next phase should study the impact of ASEAN toward agriculturist’ groups concerning the agricultural expansion for commercial and public advantages of 207 communities in Chiang Mai. Then it should select potential agricultural communities to be the delegates and make a plan to expand the agriculture of communities in Chiang Mai for commercial and public advantages . They should integrate to work with other communities and make plan to expand the agriculture with other communities in 9 countries of ASEAN so that it can help to develop the agricultural products sustainably
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1366
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover496.94 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract407.07 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent601.29 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1582.05 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2977.46 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3583.87 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4650.7 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5783.81 kBAdobe PDFView/Open
9.Chapter-6.pdfChapter-6691.87 kBAdobe PDFView/Open
10.Bibliograghy.pdfBibliography454.04 kBAdobe PDFView/Open
11.Appendix.pdfAppendix1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.