Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1335
Title: การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น : การจัดการองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Integrating Local Wisdom : Knowledge management on Local Wisdom in Doi Lo District, Chiangmai Province
Authors: อินตา, อรทัย
Inta, Orathai
Keywords: การจัดการองค์ความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
อำเภอดอยหล่อ
การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น
Issue Date: 2561
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ดำเนินการ และติดตามและประเมิผล หน่วยงานหลักที่มีส่วนร่วมได้แก่ ตัวแทนชาวบ้าน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และสถานศึกษา ขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ โดยทำการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ตำบล 54 หมู่บ้าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า การรวบรวมภูมิปัญญาทั้ง 9 ประเภท ได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นตัวแทนแต่ละประเภทรวม 23 ชนิด แต่ละชนิดมีผู้ทรงความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นผู้ให้ข้อมูลรายละเอียดภูมิปัญญา โดยทำการบันทึกรายละเอียดของภูมิปัญญาและจัดทำเป็นฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอดอยหล่อในรูปแบบวีดีทัศน์เผยแพร่ผ่าน www.doilowis.cmru.ac.th ซึ่งการดำเนินการวิจัยนี้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
Description: The purpose of this research were to manage knowledge and local wisdom in Doi Lo district. Chiangmai Province and to create a database of local wisdom in Doi Lo district, Chiangmai Province. This research was a qualitative research. By using Participatory Action Research : PAR. There were 3 phases of implementation, monitoring and evaluation. Major participating agencies include: Agent Local, Subdistrict Administrative Organization (SAO). Administrative Officer and Schools. The content area includes 9 local wisdoms, Agriculture Industry and Handicrafts Thai Traditional, Medicine Natural Resources, Environment Management Funds, community businesses, fine arts, language and literature, philosophy, religion and tradition, and nutrition. By collecting local wisdom. In Doi Lo district. Chiangmai Province The district consists of 54 villages. The results were as follows: Local wisdom represented 23 different species of 9 types of wisdom. Each type has the knowledge of local knowledge. Provides detailed information on wisdom. By recording the details of wisdom and the local wisdom database is located in Doi Lo. In the video format published through www.doilowis.cmru.ac.th. This research has been well cooperated with all related sectors.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1335
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover129.9 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract373.6 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent373.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1419.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter2455.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter387.54 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter4229.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5471.45 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography404.99 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.