กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1268
ชื่อเรื่อง: การสร้างแบรนด์และส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Brand and Marketing Mix Building of One Tambon One Product (OTOP) at Mae Rim District, Chiang Mai
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดาภา, ศรีสำราญ
มานพ, ชุ่มอุ่น
คำสำคัญ: สร้างแบรนด์
ส่วนประสมทางการตลาด
ผลิตภัณฑ์
(OTOP)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: Chiang Mai Rajabhat University
บทคัดย่อ: การสร้างแบรนด์และส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ การตีเงินปักผ้า และเขียนลายผ้าของชนเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่และเพื่อพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์การตีเงินปักผ้า และเขียนลายผ้าของชนเผ่าม้งบ้านแม่สาใหม่ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มย่อยและการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ด้านการสร้างแบรนด์และบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์การตีเงินปักผ้า และเขียนลายผ้า พบว่า ชนเผ่าม้ง บ้านแม่สาใหม่ควรสร้างอัตลักษณ์สินค้าให้สัมพันธ์กับชื่อตราสินค้าว่า “ดอยผากลอง” ซึ่งเป็นดอยเก่าแก่เคียงคู่มากับชุมชนเผ่าม้งมายาวนาน โดยมีโลโก้เป็นภาพกราฟฟิคของชนเผ่าม้งกำลังทอผ้าที่สื่อถึง การสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามาอย่างยาวนาน และมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งแบรนด์ที่เป็นผ้าทอจากผ้าใยกัญชงที่เป็นลวดลายเฉพาะของชนเผ่าม้งเท่านั้น ด้านการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด พบว่า กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ควรนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคเห็นถึงกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อนที่มีเฉพาะชนเผ่าม้งเท่านั้นที่สามารถผลิต และนำเอากลยุทธ์การตลาดเชิงจิตวิญญาณที่สะท้อนถึงการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านจิตวิญญาณจากรุ่นสู่รุ่นที่ร้อยเรียงผ่านวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อดั้งเดิมมาเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมภายใต้แบรนด์ “ดอยผากลอง” กลยุทธ์ราคา (Price) ควรตั้งราคาสูงให้สัมพันธ์กับคุณค่าและความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ควรใช้คนกลางหรือตัวแทนสมาชิกในชุมชนนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายตามคำเชิญของภาครัฐฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงนำไปร่วมงานแสดงสินค้าในระดับจังหวัดและระดับประเทศ กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด (Promotion) ชุมชนควรสวมใส่ชุดชนเผ่าเมื่อร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์อย่างเด่นชัด พร้อมกับบูรณาการเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อส่งเสริมการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ด้วยเว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ไลน์ และอินสตราแกรม เพื่อสร้างการรู้จักและ การรับรู้ในแบรนด์ กลยุทธ์บุคลากร (People) ควรสร้างความตระหนักและความมีส่วนร่วมของคนในชุมชนต่อการสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาการทอผ้าจากรุ่นสู่รุ่น กลยุทธ์กระบวนการ (Process) ควรนำเสนอเรื่องราวการทอผ้าที่มีความประณีต สวยงาม แฝงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ลวดลายผ้าชนเผ่าม้ง กลยุทธ์สถาปัตยกรรม (Physical Evidence) ควรใช้สถานที่ตั้งชุมชนเพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวและอาศัยคนรุ่นใหม่ในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการต่อยอดภูมิปัญญาและเป็นมัคคุเทศก์ชุมชน
รายละเอียด: Branding and Marketing Mix of One Tambon One Product (OTOP) in Mae Rim District, Chiang Mai aims to create a brand and product container for embroidering and pattern design for Hmong embroidering in Maesa Mai, Chiang Mai. In addition, it aims to develop marketing mix for embroidering products and pattern design of the embroidering in Maesa Mai, Chiang Mai so that it can be used for commercial purposes. The research methods were in-depth interview, focus group, and workshop training. The findings based on the branding and product container for embroidering and patter design demonstrated that the Hmong should create their identity to correspond to their brand name known as “Doi Pha Klong”, a hill where the Hmong tribe has lived for a long time. The logo is a graphic picture of Hmong people embroidering. This conveyed the inheritance of embroidering. It was also related to branding position illustrating textile weaved from a type of non-psychotic variety cannabis with a unique Hmong pattern. For the development of marketing mix strategies, it has been found that in the aspect of product, they should present that the process to produce the textile was complicated and delicate that only Hmong can produce it. Spiritual marketing should be implemented as it reflects the local wisdom being inherited from generations to generations through culture, tradition, and believes. This can also add the value to the product under the brand “Doi Pha Klong.” In the aspect of price, the price should be high to correspond to the value and the identity of the product. For place strategy, members of the community should sell in the product in exhibition held by the government or other related departments in both provincial and national level. For promotion strategy, people in the community should wear the costume when attending an exhibition in order to well present their identity. They should also use website and social media such as Facebook, Line, and Instragram to promote and publicize their products. For people strategy, the community participation and awareness to inherit the community wisdom of embroidering should be enhanced. For process strategy, the story of embroidering should be presented as it is exquisite, beautiful, and unique. For Physical Evidence strategy, the location of the community should be used to attract tourists. Moreover, the new generation should be encouraged to participant in local wisdom inheritance and become young tour guide.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Research Report

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Cover.pdfCover508.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
Abstract.pdfAbstract393.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
Content.pdfContent1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 1.pdfChapter 11.06 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 2.pdfChapter 21.24 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 3.pdfChapter 3477.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 4.pdfChapter 42.17 MBAdobe PDFดู/เปิด
Chapter 5.pdfChapter 5488.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
Bibliography.pdfBibliography654.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
Appendix.pdfAppendix1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น