Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1249
Title: การวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการความรู้ และ พัฒนาสื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาล เมืองเมืองแกนพัฒนา อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Authors: พรวนา, รัตนชูโชค
Keywords: การวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
พัฒนาสื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: โครงการวิจัยเรื่อง การวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดการความรู้ และพัฒนาสื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลเมืองเมืองแกน พัฒนา อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อสร้าง สื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ศึกษาเพื่อสอบถามด้านสุขภาพในชุมชน โดยการ สุ่มตัวอย่างชาวบ้านในชุมชนมีทั้งหมด 1,492 หลังคาเรือน ทําการกําหนดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สัดส่วนความคลาดเคลื่อน (+,-) 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 735 หลังคาเรือน และกลุ่มตัวแทนชุมชนสําหรับทดสอบระบบ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่าง ง่าย จํานวน 30 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม การจัดเวที ประเมิน การใช้ระบบด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนความรู้ด้วยการ ทดสอบค่า t-test ประเมินประสิทธิผลทางการเรียนของผู้เรียนด้วยการทดสอบค่า t-score ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า ด้านโรคประจําตัวในชุมชนเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด รองลงมาเป็นโรคเบาหวาน ในด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภท ปิ้ง ย่าง รมควัน และมีการดื่มชา กาแฟ และน้ําอัดลม และพบว่าสื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นมี ประสิทธิภาพเท่ากับ 84.00/84.67 ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ที่ 80/80 และจากการเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจากการหาค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้น จากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 33.49 สรุปได้ว่าสื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น สามารถนําไปใช้ กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1249
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdf433.52 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdf355.39 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdf433.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf560.06 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf607.37 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf418.4 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdf392.19 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.