Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1135
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประวัติ, พื้นผาสุข-
dc.contributor.authorณัฐธิดา, สุภาหาญ-
dc.date.accessioned2018-11-12T08:24:39Z-
dc.date.available2018-11-12T08:24:39Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560, หน้า 43-50th_TH
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1135-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) พัฒนาความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ด้วยการจัดทำคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม และ 3) ประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือที่จัดทำขึ้น กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้คัดเลือกตามกระบวนการของเครจชี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูพี่เลี้ยง คณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มอาจารย์นิเทศก์ และกลุ่มนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวนรวมทั้งสิ้น 783 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสรุปผลการอภิปรายกลุ่ม คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ข้อมูลวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา สรุปและสังเคราะห์นำเสนอเชิงอภิปรายประกอบตาราง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีอยู่ในระดับมาก รายการที่มีปัญหา ได้แก่ การออกนอกบริเวณสถานศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย การแต่งกายของนักศึกษา การเปิด-ปิดภาคเรียนไม่ตรงกัน การเดินทางไปนิเทศและการเบิกจ่ายสวัสดิการในการไปนิเทศมีขั้นตอนยุ่งยากเกินไป 2) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ได้มีการจัดประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูนิเทศและครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศจากคณะครุศาสตร์และคณะร่วมผลิต บุคลากรของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับมีคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูกำกับการปฏิบัติงานด้วยและ3) ประสิทธิผลและความพึงพอใจในกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม จึงอยู่ในระดับมากth_TH
dc.format.medium.pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักหอสมุด. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.relation.ispartofมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2560). ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.th_TH
dc.rights©มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูth_TH
dc.subjectการฝึกหัดครูth_TH
dc.subjectการมีส่วนร่วมth_TH
dc.titleการพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Teacher Training Experience by Engaging Process in Faculty of Education, Chiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.typeBook Chapterth_TH
dc.identifier.callnumber370.71-
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
มั่นคง-ประวัติ ฟื้นผาสุข.pdf262.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.