Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1120
Title: การวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตร ในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Authors: อารมย์เกลี้ยง, ทัศนีย์
Aromkliang, Tasanee
Keywords: สินค้าเกษตร
ระบบอาหารปลอดภัย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Issue Date: 2018
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อ การแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ตำบล 5 กลุ่มเกษตรกร ที่มีศักยภาพด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบในระดับประชมคมอาเซียน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ Diamond Model ของ Michael E. Porter อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาของโครงการด้วย 6 มิติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่สู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 5 กลุ่มเกษตรกร ในส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน พบว่า มีจุดแข็งคือ กลุ่มเกษตรกรมีสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต การตลาด คุณสมบัติของดิน การแปรรูปสินค้า การประชาสัมพันธ์ การจัดการบัญชีของกลุ่ม และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้ที่สนใจได้ แต่ยังคงมีจุดอ่อนคือ เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการฟาร์มที่ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีโอกาสที่สำคัญคือ สินค้าเกษตรมีความต้องการในระดับประเทศทั้งในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย และกลุ่มเกษตรกรมีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนในการจัดการฟาร์ม และให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนอุปสรรคที่สำคัญคือ สินค้าเกษตรมีความต้องการในระดับชุมชนจากกลุ่มลูกค้าประจำเท่านั้น ทำให้ตลาดไม่มีความหลากหลาย จากศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ ดังกล่าวสามารถนำมาสร้างแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งหมด 7 ประเด็น ซึ่งประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาสินค้าเกษตรของกลุ่มให้มีระบบการผลิตที่ปลอดภัย และหามาตรฐานที่เหมาะสมกับสินค้าเกษตรของตนเอง เพื่อสร้างเป้าหมายในการพัฒนาสินค้าของตนได้ และประเด็นกลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาสินค้าเกษตรสู่ระบบอาหารปลอดภัยโดยใช้เป็นข้อต่อรองทางการค้าได้ (ร้อยละ 22.73) รองลงมา คือ เกษตรกรควรมีความกระตือรือร้นให้การหาความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าปลอดภัย ทั้งในประเทศและสำหรับสินค้าที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้าร่วมการอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากหนังสือหรือบทความ งานวิจัยเชิงวิชาการต่าง ๆ หรือสามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตได้ (ร้อยละ 18.18) ประเด็นกลุ่มเกษตรกรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่มีการวางแผนการพัฒนาและต่อยอดอาหารหรือสินค้าเกษตรของตนที่จะนำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์ให้มีความปลอดภัย โดยไม่มีลักษณะของอาหารไม่บริสุทธิ์ตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 21.43) ประเด็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันของเกษตรกรกับหน่วยงานรัฐและเอกชน ผ่านกิจกรรมหรือโครงการด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตรปลอดภัย และการสร้างต้นแบบของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ด้านการพัฒนาสินค้าเกษตรในระบบอาหารปลอดภัย การยกระดับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพที่สูง รวมไปถึงการจัดระบบฟาร์มอย่างมีมาตรฐาน (ร้อยละ 9.09) และประเด็นสุดท้าย คือ คือ เกษตรกรควรมีความมุ่งมั่นและแน่วแน่ในการทำการเกษตรปลอดภัย เน้นวิถีเกษตรธรรมชาติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (ร้อยละ 4.55) ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไปควรที่จะศึกษาผลกระทบของประชาคมอาเซียนที่มีต่อกลุ่มเกษตรกรชุมชนท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ ในด้านการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรของทุกชุมชนทั้ง 207 ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ สู่ระบบอาหารปลอดภัย หลังจากนั้นทำการคัดเลือกชุมชนที่มีศักยภาพ เพื่อนำมาเป็นตัวแทนของชุมชนในการวางแผนการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากนั้นการวิจัยควรบูรณาการการทำงานกับชุมชนนอกจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการขยายผลการวิจัยให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ให้มากขึ้น รวมถึงการวางแผนการพัฒนาด้านระบบอาหารปลอดภัยของสินค้าเกษตรร่วมกับชุมชนในประเทศอาเซียนทั้ง 9 ประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด
Description: This research aims to study the potentiality of Chiang Mai agricultural communities and develop the potentiality of the agriculture of Chiang Mai communities concerning development and extending agricultural products to be food safety under ASEAN community. It is the qualitative research and supported by quantitative analysis from the primary data of 5 groups of agriculturists who had the potentialities to develop and were willing to attend the project. Participatory action research, SWOT analysis and Michael E Porter’s diamond model were used in this study. Descriptive statistics including 6 dimensions were also used to evaluate the achievement of development in this study. The study found that the strengths of these 5 groups were that members were specialized in production , marketing , accounting , processing , public relations. They could transfer knowledge to other interested people Their weaknesses were that they lacked abilities and understanding in a good farm management efficiently. Their opportunities were that products were needed by major customers and retail customers . They were supported by other organizations and academic institutes both in knowledge and farm management continuously. The threats were that markets lacked varieties because products were needed only by customers in communities. As a result, 7 items were created as guidelines to develop and extend the agricultural products of communities to become food safety under ASEAN community. The most important issue is that they should develop the production of agricultural products to be satisfy and search for the suitable standard with their production. In addition, if they can develop their products to become food safety ,it can be used as trade negotiation (22.73%). Then agriculturists should be enthusiastic to look for knowledge concerning agricultural standard, product safety by attending the training course from other organizations, reading books, articles as well as internet search (18.18%). They should plan to develop and extend food or agricultural products to be safe for customers and followed the regulation of food and drug administration as well as other related law (21.43%). They also should integrate to work with agriculturists both government and private organizations through the activities or projects concerning production and food safety management as well as created the master of development of agriculturist in food safety, standard of production and good farm management (9.09%). The last one was that agriculturists should intend to do safety agriculture emphasis in natural agriculture base on sufficiency economy The next phase should study the impact of ASEAN toward agriculturist ‘ groups concerning the development and extending agricultural products of 207 communities in Chiang Mai to become food safety Then it should select potential agricultural communities to be the delegates and make plans to develop as well as extend agricultural products to become food safety under ASEAN community. They shoud integrate to work with other communities and exted the research result to use and make plans to develop the food safety system of agricultura products with other communities of 9 countris in ASEAN so that it can help to develop the agricultural products sustainably.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1120
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfปก106.8 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfบทคัดย่อ368.79 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfสารบัญ526.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfบทที่6710.12 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfบทที่11.04 MBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfบทที่21.01 MBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfบทที่3580.01 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfบทที่4687.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfบทที่5792.17 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfบรรณานุกรม657.59 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.