Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1118
Title: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนา
Other Titles: The Development of a Training Course on Lanna Folk Toys
Authors: บุญมี, จิรวรรณ
ฺBoonmee, Jirawan
บุญมี, ธวัชชัย
ฺBoonmee, Thawatchai
Keywords: การฝึกอบรม
Training
หลักสูตรฝึกอบรม
Training Course
ของเล่นพื้นบ้านล้านนา
Lanna Folk Toys
Issue Date: Dec-2017
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: The development of a training course on Lanna folk toys was aimed to develop a training course and evaluate the outcomes of the course with the primary school students. The researcher collected the body of knowledge about 6 types of Lanna folk toys, namely, bakhangwo, doenkala, maikongkeng, coptermaiphai, chakchan, and kongtop, from local scholars and knowledgeable people in communities.The local scholars and educators were the ones who developed the training course on Lanna folk toys for primary school students, and did the course with the fourth-year primary school students at Thaluksansai School between August 2017 and September 2017. The research results were as follows: 1. The training course on Lanna folk toys for primary school students was developed with an aim to make the participants know how to produce and play Lanna folk toys and also ensure that they could play the toys. This study was a way to preserve and pass local wisdom and cultural heritages for the next generations. The participants were primary students and young people who were interested. The training course consisted of 6 topics such as bakhangwo, doenkala, maikongkeng, coptermaiphai, chakchan, and kongtop. It lasted for 15 hours and the course was conducted through lecturing, demonstrating, practicing and arranging a competition. The learning level of the participants was evaluated through a pre-test, a post-test, an observation form on the behaviors of participants during the training, and a questionnaire after the training. Teaching materials used in the course were the comic about Lanna folk toys in the past, the recording about Lanna folk toys and the handout containing the contents of the training course on the Lanna folk toys for primary school students. 2. The comparation of the scores of the participants between pre-test and post-test (a 25 multi-choice test) showed that the average scores of pre-test and post-test were 7.33 and 19.07, respectively. The research found that every participant had a higher score after attending the training course. The average learning progress of the participants was 46.93%. After doing the paired sample t-test, the research found that the participants had a higher score after undertaking the training course at the level of 0.01, which was statistically significant. 3. The observations of the behaviors of the participants during the training recorded in the observation form showed that every participant performed expected behaviors while attending the course. Every participant was eager to take opportunity to play with the toys. They had fun while playing and wanted to learn how to produce the toys and to play them. The participants tried to play the toys properly and they, eventually, could do that. They were enthusiastic to learn how to produce the toys. Moreover, the majority of participants participated in producing toys. They were able to guide other people how to play and to produce toys. 4. The majority of participants were female with the average age of 10.50. Their grade point average was 3.5-4.00. The attitude of the participants towards the level of understanding and skills before the training course was low. The attitude of the participants towards the level of understanding and skills after the training course was high. The attitudes of the participants towards the lecturers’ knowledge and teaching skills were at the highest level. The participants thoroughly approved of the lecturers’ abilities to conduct the training course. The satisfaction of the participants towards the training course was at the highest level.
Description: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านล้านนา 6 ชนิด ได้แก่ บะข่างโว่ เดินกะลา ไม้โก๋งเก๋ง คอปเตอร์ไม้ไผ่ จั๊กจั่น และ ก้องท้อป จากปราชญ์ชาวบ้านและผู้รู้ในชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ปราชญ์ชาวบ้านและบุคลากรทางการศึกษาได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา นำไปใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านท่าหลุกสันทรายในระหว่างเดือน สิงหาคม ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2560 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. หลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการทำและวิธีการเล่น ตลอดจนสามารถเล่นของเล่นพื้นบ้านล้านนาได้ ถือเป็นการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา และเยาวชนที่สนใจ โครงสร้างหลักสูตร ประกอบไปด้วย 6 หัวข้อ ได้แก่ บะข่างโว่ เดินกะลา ไม้โก๋งเก๋ง คอปเตอร์ไม้ไผ่ จั๊กจั่น ก้องท้อป รวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง โดยใช้เทคนิคการบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และเกมการแข่งขัน ประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมโดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมระหว่างการฝึกอบรม และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมหลังการฝึกอบรม สำหรับสื่อการสอน ประกอบด้วย หนังสือการ์ตูน เรื่อง ของเล่นพื้นบ้านล้านนา..ย้อนอดีต.. วีดิทัศน์เกี่ยวกับของเล่นพื้นบ้านล้านนา และเอกสารประกอบการฝึกอบรมจากเนื้อหาในเล่มหลักสูตรฝึกอบรมของเล่นพื้นบ้านล้านนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังอบรมของผู้เข้าอบรม โดยใช้แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม ซึ่งเป็นข้อสอบปรนัยจำนวน 25 ข้อ พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมเท่ากับ 7.33 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังอบรมเท่ากับ 19.07 คะแนน เมื่อพิจารณา เป็นรายบุคคล พบว่าผู้เข้าอบรมทุกคนมีคะแนนหลังอบรมเพิ่มขึ้นทุกคน สามารถคำนวณหา ค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้เฉลี่ยได้ร้อยละ 46.93 ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบทางสถิติโดยใช้ค่าที (Paired Sample t-test) พบว่า ผู้เข้าอบรมมีคะแนนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ผลการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมระหว่างการฝึกอบรม โดยใช้แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรมระหว่างการฝึกอบรม พบว่าโดยภาพรวมผู้เข้าอบรมทุกคนแสดงพฤติกรรมที่คาดหวังในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งนี้ผู้เข้าอบรมทุกคนแสดงพฤติกรรมดังนี้ กระตือรือร้นที่จะเล่นของเล่น เกิดความสนุกสนานในขณะที่กำลังเล่นของเล่น ตั้งใจเรียนรู้ขั้นตอนการทำของเล่น ได้ฝึกเล่นของเล่น พยายามที่จะเล่นของเล่นให้เป็น สามารถเล่นของเล่นได้ และสนใจเรียนรู้ขั้นตอนการทำของเล่น นอกจากนั้นผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ยังแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ มีส่วนร่วมในขั้นตอนการทำของเล่น สามารถบอกวิธีการเล่นของเล่นให้ผู้อื่นได้ และสามารถบอกวิธีการทำของเล่นให้ผู้อื่นได้ 4. ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 10.50 ปี มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 3.50 – 4.00 ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อระดับความรู้และทักษะก่อนเข้ารับการอบรม โดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับน้อย ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อระดับความรู้และทักษะหลังเข้ารับการอบรมโดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อวิทยากรด้านความรู้และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรจัดอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้เข้าอบรมเห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่วิทยากร สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1118
Appears in Collections:Research Report



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.