Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/963
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชุ่มอุ่น, ผศ.มานพ-
dc.date.accessioned2018-01-28T11:02:34Z-
dc.date.available2018-01-28T11:02:34Z-
dc.date.issued2561-01-28-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/963-
dc.descriptionThe objectives of this research were to study the present and future condition and marketing potential of peanuts products (Pae-lor and Pae-jee), soilbean products (Thua-nao-cap) and Sesame oil (Namman-nga) and to develop the appropriated marketing management that was consistent with the group’s resource and capability. The data collections were brain storming, deep interview, focus group, observation, data analysis and participatory action training. The research was a Participatory Action Research (PAR) and conducted from 1 October 2008 to 30 September 2009. The results showed that (1) The Sobsoi Credit Union group had to expand market to vegetarian restaurant, positioned the product to cold-pressed oil with water turbine, changed brand color and brand identity to green and yellow. The market test found that “Tanyathip Brand” was accepted from health care market than tourist groups. (2) The Pangmoo green organic sesame group had to expand market to health care and tourist market, positioned the product to animal extraction method (cow or buffalo), changed brand color and brand identity to yellow and brown. The market test found that “Morkpao Brand” was accepted from health care market than tourist groups. (3) The Pangmoo health care sesame oil group had to concentrate to natural skin care treatment, positioned the product to real 100 % sesame oil, changed brand color and brand identity to pink and white. The market test found that “Trakwian Brand” was accepted from health care market than tourist groups. (4) The Pangmoo production group of Pae-lor and Pae-jee had to concentrate to tourist and health care market, positioned the product to the nontoxic organic peanut roasted by Thai-Yai wisdom, changed brand color and brand identity to green, white and yellow, used point of purchase (POP) to inform the usage and nutrition values to customers. The market test found that “Thua Luang Thong Brand” was accepted from health care market than the tourist. (5) The Pangmoo soybean production group had to penetrate to tourist and health care market in the city, instead of selling through only wholesaler, positioned the product to Thai-Yai original formula, changed brand identity color to brown and white. The market test found that “Thua-Nao Cap Bantai Brand” was accepted from health care market than the tourist market.th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและศักยภาพในการดำเนินการด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์จากถัวลิสงถั่วเหลือง และน้ำมันงาในปัจจุบันและในอนาคตและเพื่อก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้ และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการด้านการตลาดของวิสาหกิจชุมชนที่เหมาะสม สอดคล้องกับทรัพยากร และขีดความสามารถใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การจัดทำเวทีชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกต การวิเคราะห์เอกสารและการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2552 ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านสบสอย มีศักยภาพในการทาการตลาดที่สูง มีตราสินค้าที่เป็นที่ยอมรับของตลาด มีกรรมวิธีการหีบน้ำมันงาด้วยพลังงานจากกังหันนา กลุ่มตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดผู้รักษาสุขภาพ และร้านขายอาหารเจเพื่อสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันงาที่ผลิตโดยใช้พลังงานกังหันนา ใช้ชื่อตราในการจำหน่าย คือ "ธัญทิพย์" รูปแบบการจัดการตลาดที่ควรพัฒนาต่อไป คือ การขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังกลุ่มร้านอาหารเจ เน้นการทำตลาดกับกลุ่มผู้รักสุขภาพมากกว่ากลุ่มตลาดนักท่องเที่ยว (2) กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารเคมีบ้านปางหมู มีศักยภาพในการทำการตลาดในระดับปานกลางมีกรรมวิธีการผลิตน้ำมันงาด้วยแรงงานสัตว์ (วัวและควาย) มีศูนย์การเรียนรู้อาชีพงาและมีการสาธิตหีบน้ำมันงาด้วยแรงงานสัตว์แก่ลูกค้า เน้นการทำตลาดกับกลุ่มนักท่องเที่ยว มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นน้ำมันงาหีบเย็นด้วยแรงงานสัตว์ที่มีคุณสมบัติดูดซมเข้าผิวหนังได้ดี ใช้ชื่อตราในการจำหน่าย คือ "หมอกเปา" รูปแบบการจัดการตลาดที่ควรพัฒนาต่อไป คือ การพัฒนาตราสินค้า การกำหนดจุดขาย ให้ชัดเจน สื่อสารถึงเอกลักษณ์และความแตกต่างให้กลุ่มตลาดเป้าหมาย และควรขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้รักษาสุขภาพ เพราะได้การตอบรับดีกว่ากลุ่มนักท่องเที่ยว (3) กลุ่มงาเพื่อสุขภาพบ้านปางหมูมีศักยภาพในการทำการตลาดในระดับปานกลาง มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นนามันงาที่ผสมกลีบดอกไม้และสมุนไพรจากธรรมชาติ ที่สามารถซมซับสู่ผิวหนังได้ดีด้วยน้ำมันงาสด 100% ใช้ซื้อตราในการจำหน่าย คือ "น้ามันงาตราเกวียน" รูปแบบการจัดการตลาดที่ควรพัฒนาต่อไป คือ การเน้นจุดขายไปที่ความเป็นน้ำมันงาที่มีกลีบดอกไม้และสมุนไพรจากธรรมชาติ และควรทำตลาดให้แข็งแกร่งในแม่ฮ่องสอนก่อนแล้วจึงค่อยขยายตลาดสู่กลุ่ม ผู้รักสุขภาพในจังหวัดใกล้เคียงต่อไป (4) กลุ่มผู้ผลิตถั่วเน่าแผ่นบ้านปางหมู มีศักยภาพในการทำการตลาดในระดับปานกลาง ผลิตโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำมาจากถ้าเหลือง 100% มีรสชาติเข้มข้น มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็น ถั่วเน่าแผ่นสูตรต้นตำหรับแม่ฮ่องสอน ใช้ชื่อตราในการจำหน่ายคือ "ถั่วเน่าแผ่นบ้านไตปางหมู" รูปแบบการจัดการตลาดที่ควรพัฒนาต่อไป คือ การพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้คงที่สม่ำเสมอพร้อมกับพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าให้สะอาด และการสื่อสารถึงประโยชน์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์ผ่านการสื่อสาร ณ จุดขายและขยายการจัดจำหน่ายผ่านร้านอาหารเพื่อให้ลูกค้ารู้จักสินค้าได้มากขึ้น (5) กลุ่มถั่วแปหล่อแปยีบ้านปางหมู มีศักยภาพในการทำการตลาดในระดับปานกลาง เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นถั่วที่กรอบ ไม่แข็ง คั่วทอดด้วยภูมิปัญญาชาวไทใหญ่ แม่ฮ่องสอน ไม่ใช้สารเคมีในการผลิต ใช้ชื่อตราในการจำหน่าย คือ "ถั่วหลวงทอง" รูปแบบการจัดการตลาดที่ควรพัฒนาต่อไป คือ การขยายช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังร้านขายของชำหรือร้านขายผลิตภัณฑ์ของขบเคี้ยว โดยเน้นย้ำจุดขายไปที่ความเป็นถั่วที่กรอบ ไม่แข็ง และไม่ใช้สารเคมีในการผลิตth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่th_TH
dc.titleการจัดการความรู้ทางการตลาดเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิตผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลือง และน้ำมันงา ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมูและบ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนth_TH
dc.typeJournalth_TH
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น.pdf33.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.