Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/957
Title: การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Other Titles: Development of Lanna Traditional Music Curriculum for Mattayomsuksa Two in the Nan Cultural Zone
Authors: บุญอนนท์, อ.อำนาจ
Keywords: หลักสูตรท้องถิ่นดนตรีล้านนา
การพัฒนาหลักสูตร
curriculum development
Lanna Traditional Music Curriculum of Nan cultural zone
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้วิธีการ วิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาดนตรีล้านนา และหลักสูตรท้องถิ่น ในเขตวัฒนธรรมน่าน (2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน (3) เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลหลักสูตรท้องถิ่นดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรม น่าน และ (4) เพื่อประเมินหลักสูตรท้องถิ่นดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลอง มีจำนวน 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มเล็ก จำนวน 7 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มใหญ่ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้ดนตรีล้านนาในเขตวัฒนธรรมน่าน 2) แบบทดสอบระหว่างเรียน 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพปัญหาดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน มีความนิยมน้อยลงและใกล้สูญหาย โดยเฉพาะวรรณกรรมการขับซอ และเทคนิคกลวิธีการบรรเลงสะล้อและซึง เพลงขับซอที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางวัฒนธรรม คือ เพลงซอล่องน่าน ส่วนการประสมวงดนตรีมีเพียงชนิดเดียว คือ วงซะล้อ ซอ ซึง (2) หลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่านที่พัฒนาขึ้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานดนตรีล้านนา มีทักษะในการเล่นดนตรีเบื้องต้น ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ เห็นความสำคัญและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาดนตรีที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพชน (3) หลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน มีประสิทธิภาพ 83.60/82.67 และมีค่าประสิทธิภาพผล เท่ากับ 0.70 และ (4) ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับหลักสูตรท้องถิ่น ดนตรีล้านนา ในเขตวัฒนธรรมน่าน มีความเหมาะสม ในระดับมาก
Description: The research studied the development of a Lanna traditional music curriculum in the Nan cultural zone for Mattayomsuksa two utilizing an action research approach. The objectives of the study were: (1) to study the problems of the Lanna traditional music and the possibility of an inclusion of the music in the school local curriculum, (2) to develop a local curriculum of Lanna traditional music, (3) to determine the efficiency and effectiveness of the curriculum and (4) to evaluate the suitability of the curriculum. The samplings for the curriculum implementation were two groups of students in Mattayomsuksa two, a group of 7 students and a group of 28 students. Research tools were 1) a curriculum manual and learning plans, 2) interval informative tests and 3) students’ achievement tests. The analysis of data was displayed in qualitative and quantitative forms. The findings from the study were: (1) the popularity of Nan’s traditional music was lessening to such a degree that it was becoming endangered, especially knowledge in traditional singing, and tactics in playing Salo and Sueng. Songs that showed the uniqueness of the Nan Cutural Zone were Saw Long Nan. Salor (string) Saw (singing) Sung (pin) Band was the only ensemble. (2) The curriculum aimed at developing basic knowledge of Lanna Traditional Music, skills in performing and having potential of further progression with an understanding the importance of musical intellectual knowledge inherited, appreciation and gratification of the ancestors. (3) The efficiency of curriculum revealed a statistic significance at 83.60/82.67 and the effectiveness was 0.70, (4) the feedbacks of experts on a suitability of the curriculum were at a high level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/957
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อำนาจ บุญอนนท์.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.