Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/945
Title: ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหารศึกษาเฉพาะกรณี : องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Performance Effectiveness of Executive Officers: Case Study of the Subdistrict Administrative or Organizations in Samutprakan Province
Authors: มณีปุระ, อรรถสิทธิ์
Issue Date: 28-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร จำแนกตามคุณลักษณะสวนบุคคล3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามระเบียบกฎหมายกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 279 คน สุมตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมัน (Reliability) ของครอนบาค แอลฟ่า (α).89 เก็บข้อมลจากพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร ประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติพรรณนาได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานได้แก่ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (Level of Significance) .01 และ.05 ผลการศึกษาพบว่า พนักงานสวนตำบลระดับผู้บริหารมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานอยู่ระดับสูงในส่วนการเปรียบเทียบประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหารจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า เพศ รายได/เดือน วุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และตำแหน่งต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามระเบียบกฎหมายกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำที่สุด (r=.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย แรงจูงใจกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบลระดับผู้บริหาร มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง (r-.49)อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
Description: The purposes of this research were to study (1) the level of performance effectiveness of executive officers (2) Comparison of the performance effectiveness among executive officers classified by personality factors (3) the relationship between the law and the rules comprehension and the performance effectiveness (4) the relationship between the motives and the performance effectiveness. The samples were 279 the purposive sampling technique was employed to obtain samples for research. The 4 rating scale questionnaire with Cronbach’s Alpha Reliability .89 was used as a tool to collect data from executive officers in local administrative organizations in Samutprakan province. The data were collected and calculated by computer program for social science research. The descriptive statistics were used in this research: percentage, mean, standard deviation and inferential statistics were t-test, One way ANOVA and Pearson’s Product Moment Correlation at significance level .01 and .05 The findings of study were: the performance effectiveness of executive officers at high level. The comparative of the performance effectiveness among executive officers classified by personality factors ; sex, salary per month, experience and position. There was statistically significance difference in performance effectiveness in every factors of personality at the .05 level. The relationships among knowledge in law and rules comprehensive and performance effectiveness of executive officers was significant at .01 level, with the lowest positively relationship (r=.16) and the positively medium relationship between the motivation factors (r=.49).
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/945
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อรรถสิทธิ์ มณีปุระ.pdf24.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.