Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/845
Title: การพัฒนาระบบการตลาดผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Development Chiangmai Clean Vegetable Marketing Process
Authors: ปิ่นทอง, ผศ.ทวีศักดิ์
Issue Date: 23-Jan-2561
Publisher: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
Abstract: โครงการวิจัย "การพัฒนาระบบการตลาดผักปลอดสารพิษ จังหวัดเชียงใหม่" มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาให้เกิดระบบการตลาด สินค้าเกษตรผักปลอดสารพิษ ในจังหวัดเชียงใหม่แนวทางในการวิจัยครั้งนี่ใช่การวิจัยเชิงปฏิบัติกาแบบมีสวนร่วมกับหน่วยภาค 4 ระดับ คือ ระดับแรกหน่วยภาคีระดับชุมชน ระดับสอง หน่วยภาคีระดับตำบล ระดับสามหน่วยภาคีระดับอำเภอ จำนวน 10 ชุมชน และระดับที่สี่ เป็นภาคีระดับจังหวัด แนวทางในการพัฒนาระบบตลาดได้อาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการตลาด เพื่อหาแนวทางที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ผลการศึกษาตลอดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ สามารถพัฒนาระบบตลาดผักปลอดสารพิษที่ชื่อว่า "ระบบตลาดชุมชน" ขึ้นมา ซึ่งระบบตลาดชุมชนมีแนวคิดแห่งความพอเพียงที่ว่า เกษตรกรจะทำการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ชนิดของผักต่างๆ ที่ถูกนำมาผลิตจะเน้นการบริโภคของตนเองก่อน เมื่อทำการผลิตได้ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของครัวเรือนแล้ว เกษตรกรจะนำไปจำหน่ายภายในกลุ่มของเกษตรกรเอง หรือนำไปจำหน่ายยังตลาดชุมชนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในหมู่บ้านและขยายไปถึงตลาดในตำบล อำเภอ และต่อเนื่องถึงตลาดระดับจังหวัดต่อไป รูปแบบของการพัฒนาระบบการตลาดผักปลอดสารพิษ มีรูปแบบของตลาดทั้งหมด แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับที่หนึ่ง ตลาดผักปลอดสารพิษระดับชุมชนชนบท ระดับที่สองตลาดผักปลอดสารพิษระชุมชนเมือง ระดับที่สาม ตลาดผักปลอดสารพิษระดับตำบล ระดับที่สี ตลาดผักปลอดสารพิษระดับอำเภอ และระดับที่ห้า ตลาดผักปลอดสารพิษระดับจังหวัดเมื่อนักวิจัยและหน่วยภาคีได้พัฒนาระบบตลาดผักปลอดสารพิษจนเกิดตลาดระดับจังหวัดขึ้นมาได้แล้วนั้น และการที่ตลาดดังกล่าวจะก่อเกิดความยั่งยืนได้นานเพียงใด และจะมีวิธีการใดที่จะทำให้ตลาดสามารถตอบสนองความต้องการทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคได้อย่างยังยืน การประเมินความสำเร็จของการพัฒนาระบบตลาดผักปลอดสารพิษระดับจังหวัดแห่งนี้ โดยอาศัยแบบประเมินความสำเร็จของการพัฒนาระบบตลาด จากผู้เข้ามาใช้บริการตลาด ทั้งสิ้น 1,030 ราย ผลการประเมินพบว่าความสำเร็จของการจัดการตลาดผักปลอดสารพิษ ระดับจังหวัด โดยภาพรวมประชาชนที่เข้าร่วมงานให้ความพอใจระดับมากและหากจะให้ตลาดพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนแล้ว ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายควรจะเพิ่มปริมาณ และชนิดของสินค้าให้มากชนิดขึ้น นอกจากนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษให้กับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการให้ทราบ นอกเหนือจากการเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้หน่วยงานภาคีระดับจังหวัด นำเสนอแนะและผลประเมินไปปรับใช้กับการพัฒนาตลาดผักปลอดสารพิษต่อไป
Description: Development Chiang Mai clean vegetable marketing process has the objective mainly to develop and create the Chiang Mai clean vegetable marketing process. Participatory action research and quadruple party levels were conducted. The quadruple levels are firstly community level .The second level consists of sub district. The third level consist of 10 communities of district. The fourth level is province. This study used the sufficiency economy concept as the way to develop the marketing system. The result of the study found that the researchers and other related offices can develop the community marketing system of clean vegetables. The agriculturists grow vegetables to mainly consume in their households. If there is a surplus of vegetables, they will distribute these excess vegetables to sale within their groups or local market. The result of study illustrated the five levels of market; the first level is local community clean vegetable market. The second level is urban clean vegetable market. The third level is sub district clean vegetable market. The fourth level is district clean vegetable market and the fifth level is provincial clean vegetable market. The researchers and other related officials develop the clean vegetable marketing system to be the provincial market. The researchers evaluated the success of development of provincial marketing system to consider the sustainable of the market and methods to satisfy producers and consumers. Evaluation forms are made to evaluate the success of marketing system development through 1,030 people who join in this market. The result of the evaluation found that people are strongly satisfied with this market. The market will be sustainable if the sellers increase the quantity and types of vegetables. Public relations and information should be distinguished to people more wildly. The researchers suggest provincial officials bring the result of the evaluation to improve and develop clean vegetable marketing.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/845
Appears in Collections:Rajabhat Chiang Mai Research Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ผศ.ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง.pdf39.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.