Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/820
Title: วิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ และศักยภาพธุรกิจชุมชน ตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เดินเส้นลวดลาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: The Analysis of Product Design and the Potentiality of Community Business, A case Study on ‘Dern Sen’ Product, Hang Dong District, Chiang Mai
Authors: โสมดี, อัญชลี
และคณะ
Somdee, Anchalee
Keywords: วิเคราะห์
การออกแบบผลิตภัณฑ์
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
Issue Date: 2550
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ และศักยภาพธุรกิจชุมชน ตามโครงการ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เดินเส้นลวดลาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น 2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการจัดการของธุรกิจชุมชน ด้านการบริหารทรัพยากรคน เงิน งาน วัสดุอุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพ 3) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการตลาด ในการนำสินค้าจากผู้ผลิต ไปสู่ผู้บริโภค โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม (Based on Community) จากการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาจากกลุ่มประชากร ที่ประกอบการ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นแบบกลุ่มประชากรที่นับได้ (Finite Population) จากกลุ่มธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเดินเส้นลวดลาย 10 กลุ่ม ในพื้นที่อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์ เดินเส้นลวดลาย มีปัจจัยในการออกแบบตามลักษณะชิ้นงาน เนื่องจากขนาดของชิ้นงานที่ได้มา มีขนาดไม่เท่ากัน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เดินเส้นลวดลายมีขนาดไม่ได้มาตรฐาน ในด้านการออกแบบ ไม่มีการพัฒนารูปแบบเท่าที่ควรในหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งราคายังไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพราะปัญหาการตัดราคากันเองของผู้ประกอบการ การแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดควรออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ทันสมัย ควรเน้นประโยชน์ใช้สอยให้มากกว่าเดิม ควรปรับปรุงด้านขนาดความสวยงามความประณีตของงาน และคุณภาพโดยรวม ในราคาที่เหมาะสม ในการวิเคราะห์ศักยภาพการจัดการของธุรกิจชุมชน ด้านการบริหารทรัพยากรคน เงิน งาน วัสดุอุปกรณ์ ให้มีประสิทธิภาพนั้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ผู้ประกอบการทั้ง 10 กลุ่ม ส่วนใหญ่ เป็นผู้ประกอบการรายเดียว มีทั้งการทำงานทุกขั้นตอนทั้งหมด และมีพ่อค้าคนกลาง เป็นผู้ดำเนินงาน โดยเป็นผู้กระจายงานให้แก่ผู้ประกอบการเป็นรายๆ ไป ให้ทำตามความสามารถของช่าง ด้านการบริหารทรัพยากรคนของกลุ่มส่วนใหญ่การบริหาร เป็นการบริหารสอนงานกันเอง ภายในครอบครัวอย่าง เช่น พ่อสอนแม่ แม่สอนลูก พี่สอนน้อง และสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น วัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ วัสดุหลักๆ ที่สำคัญจะได้มาจากพ่อค้าคนกลางเป็นคนประสาน และจัดหาให้ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินงาน แต่ในกรณีที่ผลิตทุกขั้นตอนจะต้องลงทุนจัดหาวัสดุเอง ศักยภาพการ ด้านการตลาด ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งพ่อค้าคนกลาง และจำหน่ายเอง ขาดความรู้ด้านการวางแผนทางการตลาด เป็นการดำเนินธุรกิจที่ยังขาดระเบียบ การจัดการ และการบริหารที่ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ผลการวิเคราะห์ตามแนวทางการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ.2549 โดยวิเคราะห์ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เดินเส้นลวดลาย ชุมชน หมู่ 5 หมู่ 8 หมู่ 11 ตำบลบ้านแหวน และหมู่ 2 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกรณีศึกษาทั้ง 10 กลุ่ม สามารถสรุปได้ คือ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีศักยภาพตามเกณฑ์ฯ จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ระดับ 2 ดาว คิดเป็น 80% และผู้ประกอบการที่จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ระดับ 1 ดาว คิดเป็น 20% และผู้ประกอบการ ที่จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ระดับ 3, 4 และ 5 ดาว คิดเป็น 0% ข้อเสนอแนะในการวิจัย ควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มผู้ประกอบการมีความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจทุกด้าน รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ความรู้ด้านการบริหารจัดการ รวมไปถึงการสนับสนุนด้านแหล่งทุนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ของผู้ประกอบการท้องถิ่น
Description: The research on “The Analysis of Product Design and the Potentiality of Community Business, ‘Dern Sen’ Product Case Study, Hang Dong District, Chiang Mai” aims to 1) analyze local product design 2) analyze the potentiality of business management, especially on human resources, money, material and work procedure management, and 3) analyze the marketing potential to deliver products from manufacturers to consumers. The research methods were combined among the Case Study, Based-on Community Participation, Documentary Research by analyzing contents from recorded documents, Field Study for actual condition in community, Survey Research to find out the fact, Experimental Research, Creative Research to create knowledge, methods, theories and creative artistic work, and Applied Art Research which applies research results as basic data for product design. This research is the study from population who engage in related community product group which is Finite Population from 10 groups of ‘Dern Sen’ product local business groups in Hang Dong district, Chiang Mai province by using Purposive Sampling. The research results show that the local product design involves with design based on work’s feature. Due to unmatched size of work, outline design product has unqualified size. Regarding to design, it has not been properly accomplished in past years. The prices are also not proper with the product due to price undercutting among business groups. The exact solution for this matter should be modern product design focusing on more utility, improving size, appearance, fineness and overall quality in proper prices. Regarding to the analysis of the potentiality of business management, especially on human resources, money, material and work procedure management, initially, it is found that all 10 business groups are mostly sole entrepreneur who manage all working process, and middleman is the person who operates by spreading work to each entrepreneur. This way, the craftsmen’s ability in human resource management is likely a management in family; e.g. father to mother, mother to son, elder brother to younger brother, and carries down to next generations. Major materials and equipment come from the middleman as coordinator and supplier if the entrepreneur comes to operate. However, in case of the production by the entrepreneur, the entrepreneur has to invest and provide materials by himself. In most marketing, it is a production to distribute to middleman and sell by him. This business operation still lacks of management protocol, and the management still does not meet the certified standard. According to the analysis of the best local product 2006 by analyzing 10 groups of outline design product community business, Village No.5, 8 and 11, Ban Waen sub-district and Village No.2, Khun Khong sub-district, Hang Dong district, Chiang Mai province as case study, it can be concluded that most of the business groups have standard potentiality in which their products can be considered in class 2 (80%), business groups who are considered class 1 (20%), and business groups who are considered class 3, 4 and 5 respectively (0%). For the research suggestion, additional encouragement should be made for business groups to have more knowledge in management including government support; such as knowledge in production technology, product design, mass management and business funding which considered crucial factor in running business of local business groups.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/820
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover446.91 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract446.57 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent498.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1571.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-22.14 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3632.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-41.1 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-52.93 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-6.pdfChapter-6733.91 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-7.pdfChapter-7557.74 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix447.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.