Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/732
Title: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น งานหัตถกรรมสาขาไม้แกะสลักของจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Applied an Edict of The King in Sufficiency Economy to Inherit the Local Knowledge in the Field of Handicrafts in Chiang Mai Province, the Department of Wood Carving
Authors: คืนมาเมือง, สิริพร
Keanmamung, Siriporn
Keywords: การประยุกต์พระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
งานหัตถกรรมสาขาไม้แกะสลักของจังหวัดเชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมไม้แกะสลักในจังหวัดเชียงใหม่ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมไม้แกะสลักในจังหวัดเชียงใหม่และ 3) เพื่อสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมสาขาไม้แกะสลักของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น ระดับชุมชน ระดับประเทศสู่สากล โดยได้ทำการศึกษา จากกลุ่มตัวอย่าง 10 กลุ่ม ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย และอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ผลจากการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้ง 10 กลุ่ม เป็นกลุ่มที่อาศัยอยู่ในอำเภอหางดง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาอาศัยอยู่ในอำเภอสันกำแพงคิดเป็นร้อยละ40 วัตถุดิบที่จัดซื้อมาจากแหล่งผลิตภายนอกชุมชนคิดเป็นร้อยละ 70จากแหล่งผลิตภายในชุมชนท้องถิ่นและ แหล่งที่มาจากผู้ว่าจ้างคิดเป็นร้อยละ 30 การจ้างแรงงานเป็นแรงงานของผู้ประกอบการเองคิดเป็น ร้อยละ 60 สมาชิกภายในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 50 และแรงงานภายในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 40 สำหรับขั้นตอนการผลิตที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การร่างแบบ การแกะสลัก และการเก็บรายละเอียด คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมาก็จะเป็นการวัดและตัดไม้ตามแบบ การขัดเนื้อไม้ การทาน้ำมัน คิดเป็นร้อยละ 20 สถานที่ผลิตของผู้ประกอบการจะใช้สถานที่บ้านคิดเป็นร้อย 90 ส่วนการเช่าสถานที่ เพื่อใช้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ10การออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นการคิดค้นแบบเองทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 70 ตามแบบที่ผู้ว่าจ้างออกแบบให้นั้น คิดเป็นร้อยละ 20 และการคิดค้นดัดแปลงจากชิ้นงานที่ได้พบเจอ คิดเป็นร้อยละ 10 การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์นั้น ประเมินจากความเรียบร้อยของการแกะสลัก คิดเป็นร้อยละ 70 มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 30 ความละเอียดของผลิตภัณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 20 และความถูกต้องและความประณีตคิดเป็นร้อยละ 10 ทางด้านการกำหนดราคานั้น ผู้ประกอบการเป็นผู้กำหนดราคาเอง โดยพิจารณาจากค่าแรง ขนาดของผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาในการผลิต คิดเป็นร้อยละ 60 ต้นทุนราคาสินค้าและคุณภาพสินค้า คิดเป็นร้อยละ 50 ความต้องการของท้องตลาดคิดเป็นร้อยละ 30 ราคาขายขอคู่แข่งขันและกำลังซื้อของลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 20 ทางด้านการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์นั้น มีการนำสินค้าไปจัดในงานแสดงสินค้าต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละ 40 การใช้สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนัดหรือถนนคนเดิน สื่อสิ่งพิมพ์ และการประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 10 ส่วนช่องทางในการจัดจำหน่ายใช้ร้านค้าของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 70 ตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ40สื่ออิเล็กทรอนิกส์และการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 10 ตลอดจนการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ SWOT Analysis ในการบริหารจัดการธุรกิจหัตถกรรมสาขาไม้แกะสลักนั้น พบว่า จุดแข็งของกลุ่มตัวอย่างคือ ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ ผลิตภัณฑ์มีรูปแบบลวดลายที่สวยงามและหลากหลายตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ราคาผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมกับราคาท้องตลาดและคู่แข่งขัน มีสถานที่ในการผลิตผลิตภัณฑ์อยู่ในแหล่งชุมชน สำหรับปัญหาสำคัญที่พบคือผู้ประกอบการยังขาดความรู้และไม่ค่อยเข้าใจทางด้านการสร้างตราสินค้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่มีการส่งเสริมการขาย และมีการประชาสัมพันธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์น้อย ทางด้านโอกาสในการทำธุรกิจคือรัฐบาลมีการส่งเสริมกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมอย่างจริงจังและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจมีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การมีคู่แข่งขันทางการค้าในตลาดเดียวกันเป็นจำนวนมาก ด้านการวิเคราะห์ความสอดคล้องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมไม้แกะสลักนั้น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยมีหลักสำคัญสามประการคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นแนวทางที่สามารถสร้างให้ธุรกิจชุมชนดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน และภูมิปัญญาท้องถิ่นงานไม้แกะสลักก็จะยังคงมีลูกหลานสืบทอดงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นกันต่อไป ด้านการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีอยู่ด้วยกัน3ขั้นตอนคือขั้นตอนแรกมีการจัดนิทรรศการโดยเชิญสล่าหรือพ่อครูแม่ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสาธิตและให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มาฝึกทำงานหัตถกรรมและนำองค์ความรู้ที่ได้รับนั้นไปถ่ายทอดภายในท้องถิ่นไม่ให้สูญหายไป ขั้นตอนที่สอง การให้ความรู้ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมการอบสัมมนา จากการจัดโดยคณะผู้วิจัยหรือทางทางรัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และขั้นตอนที่สามคือ มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ป้ายไวนิล สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อสิ่งพิมพ์(ใบปลิว)เพื่อเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นงานไม้แกะสลัก และเป็นฐานข้อมูลองค์ความรู้ทางเว็บไซด์แก่ผู้ที่สนใจในระดับท้องถิ่นและประเทศต่อไป
Description: This qualitative research aims to study 1) the context and the local wisdom potential the Department of Wood Carving in Chiang Mai province 2) to analyze the accordance between the sufficient economy philosophy and the local wisdom inheritance the Department of Wood Carving of Chiang Mai province 3) to inherit the local wisdom of Wood Carving Chiang Mai province and to propagate it at the local level to the international level. The qualitative and the participatory action research were done in four districts: Sankhumpaeng, Sansai, Muang, and Hang Dong district. The findings are that the 10 sample groups are mostly in Hang Dong District (60%), Sankhumpaeng district (40%), More used materials and tools are from other community (70%) than from in own community or from employers (30%). Employment is a labor within a family (40%) and community members (50%). The production places are at home (in the family) (90%) and in rent store (10%). The designs are up to the craft-men and producers (70%). Some are produced by the customers’ suggestions or made to order (20%) and inspired by the other (10%). entrepreneurs are persons who fix the price by considering from the principal of the product price, size and timing (60%), the product quality (50%), purchasing power and the competitors’ prices. (20%), and marketing demand (30%). For the public relation, the entrepreneurs made it themselves at Sunday market or exhibition (40%). The propaganda was done through printing materials and the on-line document or the e-commerce (10%). Regarding to the product’s distribution channel, the entrepreneurs made it themselves at their own shops (whole sales and retail sales) (70%), agency (40%). the e-commerce and etc. (10%). The SWOT analysis on the Department of Wood Carving in Chiang Mai province it is found that entrepreneurs have feature in operating their business that they have been inherited knowledge from their previous generations or their ancestors and have obvious distribution channel that through the entrepreneurs’ stores and official dealers. Their products are variety and a good quality of materials raw. For the problems found during the process, some entrepreneurs still lack of knowledge and understanding in creating their product symbol and packaging, For the opportunity of running business, the governmental organizations provide support, cooperation, knowledge and advice to entrepreneurs that is directly beneficial to sample groups. However, the obstacles where the entrepreneurs are facing currently are economic issue, political issue, and there are lots of competitors in the same market. According to the analysis of the consistency in Self-Sufficiency Economy Philosophy and local wisdom inheritance on Wood Carving, all entrepreneurs have applied Self-Sufficiency Economy Philosophy to their business operation with current situation by applying attitudes of running sufficient and stable business as principle in running their business, so that the entrepreneurs will be able to carry on their business with sustainability. However, regarding to the inheritance of local wisdom on Wood Carving of Chiang Mai province by 3 stage, first the researcher group organizes an exhibition in order to broadcast local wisdom knowledge and public relation media are vinyl posters, television media, electronic media, printed matters, etc. to publicize and broadcast Wood Carving, second by inviting local craftsmen or teachers who teach local wisdom to demonstrate and provide knowledge of Wood Carving which is to inherit the knowledge of handicraft within the locality to prevent from vanishing and to make it exists. Moreover, there is a sales promotion in order to increase the income from product distribution, and it promotes entrepreneurs to join the activities of seminars and lectures which are activities organized by researcher group or governmental and private sectors. Entrepreneurs are able to apply those acquired knowledge for their business. Also, the researcher has published the public relation media within Chiang Mai province as Wood Carving database in Chiang Mai province. This is also for inheriting folk intellect and Wood Carving handicraft to locality, country and international level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/732
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)460.23 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)442.15 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)652.89 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)507.7 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)940.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)749.81 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)514.52 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)1.53 MBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter-6 (บทที่6)686.11 kBAdobe PDFView/Open
Chapter7.pdfChapter-7 (บทที่7)463.88 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)522.15 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)739.73 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.