Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/679
Title: ผลของการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อผลผลิตของเห็ดโคนญี่ปุ่น
Authors: พิชัย, กัลทิมา
Issue Date: 2551
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Description: การศึกษาผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อผลผลิตของเห็ดโคนญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ และไม่ใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อผลผลิตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของเห็ดโคนญี่ปุ่นในสภาวะเลียนแบบธรรมชาติ จากการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรล- ลินต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดโคนญี่ปุ่น บนอาหาร PDA (potato dextrose agar) ที่ความเข้มข้น 0.001% ให้ผลการเจริญของเส้นใยได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 0.005% และ 0.01% ตามลำดับส่วนความเข้มข้นของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 0.1% และ 0.05% ไม่มีการเจริญของเส้นใยเห็ดโคนญี่ปุ่น ผลของการใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อผลผลิตด้านปริมาณต่อกรัม/ก้อนของเห็ดโคนญี่ปุ่นในระยะเวลา 4 เดือนสามารถแบ่งผลผลิตเชิงปริมาณได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ให้ผลผลิตต่ำได้แก่สูตร 17 , 9 และ 3 ให้ผลผลิต 16.64 ± 1.20 กรัม , 16.26 ± 0.86 กรัม , และ 15.38 ± 0.63 กรัม ตามลำดับ กลุ่มที่สองที่ให้ผลผลิตสูงได้แก่สูตร 11, 13, 12, 18, 10, 6, 8, 15, 14, 4 , 16 , 7 , 1 , 5 และ 2 ตามลำดับ สูตรที่ให้ผลผลิตเชิงปริมาณสูงที่สุดคือสูตร 11 ให้ผลผลิต 20.99 ± 1.97 กรัม และนำไปวิเคราะห์หาปริมาณความ ชื้น พบว่าสูตรที่มีปริมาณความชื้นจากมากไปน้อยได้แก่ สูตร 9, 18, 12, 13, 11 ,8 ,15 ,17 , 7 , 6 , 10 , 1 , 5 , 3 , 4 , 2 , 16 และ 14 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ปริมาณเถ้าได้สูตรที่มีปริมาณเถ้าจากมากไปน้อยดังนี้ สูตร 9 , 4 , 5 , 6 , 10 , 3 , 13 , 18 , 2 , 7 , 11 , 14 , 8 , 12 , 16 , 17 , 1 , และ 5 ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ปริมาณไขมันพบว่าได้สูตรอาหารที่มีปริมาณไขมันจากมากไปน้อยดังนี้ สูตร 15 , 6 , 10 , 17 , 4 , 1, 18 , 7 , 16 , 3 , 9 , 13 , 8 , 11 , 2 , 12 , 14 , และ 5 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หาปริมาณเส้นใยได้สูตรที่มีปริมาณเส้นใยจากมากไปน้อยดังนี้สูตร 9 , 11 , 16 , 10 , 8 , 17 , 7 , 6 , 1 , 18 , 4 , 2 , 3 , 5 , 14 , 12 , 15 และ13 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนโดยวิธีเคลดาห์ได้สูตรที่มีปริมาณโปรตีนจากมากไปน้อยดังนี้สูตร 14 , 15 , 13 , 12 , 3 , 4 , 11 , 18 , 9 , 10 , 1 , 17 , 6 , 2 , 7 , 16 , 8 , และ 5 ตามลำดับ และ ผลการวิเคราะห์หาปริมาณคาร์โบไฮเดรตได้สูตรที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตจากมากไปน้อยดังนี้ สูตร 8 ,15, 5 , 2 , 1 , 12 , 16 , 17 , 14 , 7 , 18 , 3 , 13 , 11 , 4 , 6 , 10 , และ 9 ตามลำดับ ผลของการไม่ใช้ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินต่อผลผลิตในด้านปริมาณของเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ได้จากสูตรอาหารเพาะทั้ง 18 สูตร โดยวัดผลผลิตต่อ กรัม/ ก้อนเป็นเวลา 4 เดือน พบว่าสูตรที่ได้ปริมาณของน้ำหนักดอกเห็ดสูงสุดคือ สูตรที่ 18 มีน้ำหนักเท่ากับ 18.66 g ±7.3714 ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้คือ ขี้เลื่อยยางพารา 1 kg รำละเอียด 0.1 kg ปูนขาว 0.01 kg ดีเกลือ 0.003 kg แป้งข้าวเหนียว 0.01 kg น้ำตาลทราย 0.01 kg ภูไมด์ 0.02 kg และส่าเหล้า 0.01 kg สูตรที่ให้น้ำหนักดอกเห็ดน้อยสุดคือ สูตรที่ 13 มีน้ำหนักเท่ากับ 13.04 g ±6.6496 และเมื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าปริมาณความชื้นพบว่าสูตรที่มีปริมาณของความชื้นสูงสุดคือ สูตรที่ 3 ,10 และ 12 ซึ่งมีความชื้นเท่ากับ 90.2 % ±0.0263 และสูตรที่มีปริมาณความชื้นน้อยที่สุดคือ สูตรที่ 15 ซึ่งมีปริมาณความชื้นเท่ากับ 87 % ±0.1131 ผลจากการวิเคราะห์ปริมาณเถ้าพบว่าสูตรที่มีปริมาณเถ้ามากที่สุดคือ สูตรที่ 11 ซึ่งมีปริมาณเถ้าเท่ากับ 12.1 g ±0.0001 และสูตรที่มีปริมาณเถ้าน้อยสุดคือ สูตรที่ 7 มีปริมาณเถ้าเท่ากับ 9.85 g ±0.4614 ผลการวิเคราะห์ปริมาณไขมันพบว่าสูตรที่มีปริมาณของไขมันสูงสุดคือ สูตรที่ 18 มีปริมาณของไขมันเท่ากับ 5.52 % ±0.00000 และสูตรที่มีปริมาณของไขมันน้อยที่สุดคือ สูตรที่ 13 มีปริมาณของไขมัน 0.88 % ±0.00010 ผลการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนพบว่าสูตรที่มีปริมาณโปรตีนมากที่สุดคือสูตรที่ 9 มีปริมาณโปรตีนเท่ากับ 31.6522 % ±0.9504 และสูตรที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือสุด 7 มีค่าปริมาณโปรตีนเท่ากับ 27.0123 % ±4.7307 ผลการวิเคราะห์ปริมาณเส้นใยพบส่าสูตรที่มีปริมาณเส้นใยมากที่สุดคือ สูตรที่ 17 มีค่าปริมาณเส้นใยเท่ากับ 2.0505 ±0.4268 และสูตรที่มีปริมาณเส้นใยน้อยที่สุดคือ สูตรที่ 18 มีค่าปริมาณเส้นใยเท่ากับ 0.3738 ±0.1523 และผลการวิเคราะห์ปริมาณคาร์โบไฮเดรตพบว่าสูตรที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตมากที่สุดคือสูตรที่ 7 มีค่าปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากับ 59.5668 %และสูตรที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อยที่สุดคือ สูตรที่ 9 มีค่าปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากับ 50.0414 % จากการวิจัยนี้พบว่าผลของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ให้ผลผลิตของเห็ดโคนญี่ปุ่นที่ดีกว่าก้อนเห็ดที่ไม่ได้ใส่ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ถ้าต้องการจะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ควรใช้สูตรที่ 11 โดยใช้ความเข้มของฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน 0.001% เพราะให้ผลผลิตต่อกรัม/ก้อนมากที่สุด
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/679
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)500.1 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัดย่อ)481.33 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent (สารบัญ)413.67 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1 (บทที่1)444.17 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-2 (บทที่2)734.51 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3 (บทที่3)440.26 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4 (บทที่4)807.4 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5 (บทที่5)486.32 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุุกรม)415.95 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix (ภาคผนวก)2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.