Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/658
Title: ความเชื่อในชุมชนในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Authors: สะสอง, นาย สัญญา
Sasong, Mr. Sanya
Keywords: ความเชื่อในชุมชนในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย
เชียงใหม่
Issue Date: 2553
Publisher: Chang Mai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยเรื่องความเชื่อในชุมชนในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรากฐานทางความเชื่อและโลกทัศน์ของชุมชนในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อแสวงหาจุดร่วมของความเชื่อหลายกระแสที่สามารถยึดโยงให้ชุมชนในเขตศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข ซึ่งผลการวิจัยสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ 1) ความเชื่อที่เป็นโลกทัศน์เชิงอภิปรัชญา ชาวม้งในชุมชนหนองหอยเชื่อว่าเทพเจ้า (เซ้า) เป็นผู้สร้างโลก มนุษย์ และสรรพสิ่งต่างๆ โดยที่โลกแห่งผีกับโลกมนุษย์มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น และเชื่อมั่นในผีบรรพบุรุษว่าเป็นผีดีที่คอยปกป้องคุ้มครองมนุษย์จากภัยอันตรายและโชคร้ายต่างๆ ซึ่งสิ่งที่เชื่อมประสานโลกแห่งผีกับโลกมนุษย์ คือ ขวัญ ขวัญคือกระบวนชีวิตทั้งหมดตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์ มนุษย์ดำเนินและประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้เพราะมีขวัญเป็นเครื่องนำทาง มนุษย์จึงพยายามที่จะไม่ให้ขวัญหนี ขวัญเสีย หรือถูกผีร้ายแย่งชิงเอาไป หากขวัญถูกผีแย่งเอาไป ต้องทำพิธีอัวเน้ง ด้วยการเซ่นหมู ไก่ หรือวัว เพื่อแลกเอาขวัญสัตว์ไปให้ผีและนำขวัญมนุษย์กลับคืนสู่ร่างเดิม ชาวม้งเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ตายไปจะกลายเป็นผีบรรพบุรุษคอยคุ้มครองลูกหลานต่อไป 2) ความเชื่อที่เป็นโลกทัศน์เชิงจริยศาสตร์ ชาวม้งยึดมั่นในความกตัญญูต่อผีบรรพบุรุษและต้องเซ่นสรวงประจำทุกปี และถือหลักจริยธรรมตามความเชื่อเรื่องผี โดยหลักจริยธรรมสำหรับชีวิตนั้น ต้องกตัญญูและเคารพเชื่อฟังบิดามารดา มีความรัก ความสามัคคีกันระหว่างพี่น้อง สามีภรรยาต้องรัก ให้เกียรติ และไม่ทอดทิ้งกัน ห้ามคนแซ่ตระกูลเดียวกันแต่งงานกันเด็ดขาด ส่วนหลักจริยธรรมในชุมชนนั้น ชาวม้งต้องเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสที่เป็นผู้รู้ในชุมชน และนับถือกันตามลำดับแซ่อย่างเคร่งครัด ต้องช่วยเหลือกันภายในชุมชน โดยที่ชาวม้งสามารถประยุกต์ความเชื่อหลายกระแสที่เข้ามาสู่ชุมชนให้เข้ากันได้กับประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิม ด้วยการไม่ทอดทิ้งและรักษาแนวคิดความเชื่อดั้งเดิมตามวิถีม้ง และไม่ปิดกั้นความเชื่อใหม่ๆ แต่สั่งสอนลูกหลานให้ปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ผีบรรพบุรุษพอใจและปกป้องคุ้มครองลูกหลานให้มีความสุข ความเจริญตลอดไป
Description: Research on The Beliefs in Community at The Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Raem Sub-District, Mae Rim District, Chiang Mai Province is qualitative research. Its objectives are to study a background on beliefs and perspective of a community in Nong Hoi Royal Project Development Center, Mae Ram sub-district, Mae Rim district, Chiang Mai province and to find focus of streams of beliefs that can link the community in Nong Hoi Royal Project Development Center living together peacefully. Results of the research are as follows: 1) there are beliefs that are metaphysical perspective. Hmong in Nong Hoi community believe that God (Sao) is a creator who creates earth, men and every single thing on the earth and spiritual world and human world are closely connected. They also believe in their ancestor’s spirits that are good spirits protecting them from danger and bad luck. Kwan is something connecting the spiritual world and the human world. It is also a cycle of life, from birth until death and it is the most important thing in men’s lives. Men live their lives with Kwan as a guideline so men try not to make Kwan escape frightened or brought by bad spirits. If Kwan is brought by the bad spirits, men have to set Uaneng ceremony, sacrificing pork, chicken or cows in order to give the spirits the animal’s Kwan and bring men’s Kwan back. The Hmong also believe that when men die, they become ancestor’s spirits protecting their descendants. 2) There are beliefs that are ethical perspective. The Hmong adhere to gratitude to their ancestor’s spirits and they have to sacrifice them annually. Furthermore, they believe in the ethics as well as the spirits, for example, they have to express their gratitude and pay respect to their parents, they have to love each other, they need to be in harmony with their brothers and sister, husbands have to love, his wives, give her the dignity and he doesn’t have to leave her. People in the clan also are prohibited to marry each other. For the ethics in the community, the Hmong need to pay respect to elders who are gurus in the community, need to pay respect within the clan respectively and help the others in the community. Moreover, the Hmong can apply many streams of beliefs for their traditional culture and custom without ignoring and with maintaining their traditional beliefs. They do not block any alternative beliefs, but they instruct their descendants to practice their traditional culture and custom strictly in order that their ancestor’s spirits will be satisfied and protect them to be happy and prosperous.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/658
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover (ปก)426.52 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract (บทคัคย่อ)408.33 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)405.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter-1 (บทที่1)401.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter-2 (บทที่2)644.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter-3 (บทที่3)487.27 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter-4 (บทที่4)644.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter-5 (บทที่5)491.43 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography (บรรณานุกรม)447.75 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.