Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/604
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเขียวทอง, กิตติ-
dc.contributor.authorKhiawthong, Kitti-
dc.date.accessioned2017-12-06T06:41:36Z-
dc.date.available2017-12-06T06:41:36Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/604-
dc.descriptionThe action research of community enterprises in knowledgeable management of accounting development in peanut, soybean and sesame products of Pangmoo and Sobsoi Villages Amphur Muang, Meahongson Province was to investigate about the condition of accounting, the development of accounting model in sufficiency economy and the development of community enterprises which depend on the resources in the sufficiency economy community. Questionnaires, focus group discussions, brain storming and interviews were employed to collect the data. The findings about the condition of accounting and the development accounting model indicated that both Pangmoo and Sobsoi villages’ members who are agriculturist group planting and sewing “Pha Thai” are 45-47 years old ’s women. They graduated in primary school and got about 6,896 baht per month. Most of members did not do the household accounting, so they had a few debts. They did the product accounting in Pangmoo and Sobsoi villages for the agriculturist group, but they have more knowledge about general accounting. Brain storming activity shows that the agriculturist group getting the accounting knowledge from Bank for Agriculture and Agricultural Co-operative, Cooperating Auditing Department: however, they don’t usually record in the accounting book. Accounting model of members in Pangmoo and Sobsoi villages, agriculturist group do the cash basis which records in the accounting book that hold cash inflow and cash outflow in each household. The accounting book consists of date, product’s income and other income, total income, product’s expense and household’s expense and total expense. Through the product accounting transactions are posted balancing the sheet which does with income, less cost and expense, less labor expense, less non-current asset average expense per period and less outstanding material. When the seminar finished, agriculturist group get the knowledge about the sufficiency economy and the household accounting very well. They themselves will do it in the future, after agriculturist group do the household accounting. The expense decreases, but the saving increases. Therefore, they spend money with the good reasons and they are more economical too. They do the product accounting which makes the real cost of product in each month and operate the results. Agriculturist group can identify the household and product expenses. They say that the accounting book is expedient to record and they will do the product accounting in the future. Developing community enterprises depends on the resource in the community with the sufficiency economy that the researcher gets the knowledge about product which is in the community and intergrades with the universal knowledge. Moreover, the researcher develops the accurate, appropriate, systematic and provable model accounting’s doing. The researcher can be take the household accounting with the sufficiency economy combining with the product accounting, while the agriculturist group records the only one book. The reason shows that the agriculturist group loves to save, to record and to learn about the expenses.th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การบัญชีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้วยการจัดการความรู้ ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลืองและน้ำมันงาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมูและบ้านสบสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเพื่อศึกษาการจัดทำบัญชีของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พัฒนารูปแบบการจัดทำบัญชีที่เหมาะสมกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพึ่งพาตนเอง และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้การพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือกิจกรรมการสนทนากลุ่ม(Focus Group) การระดมสมอง เป็นการกิจกรรมที่ให้สมาชิกสนทนา อภิปราย ระดมสมอง จากนั้นเขียนลงในกระดาษ แล้วนำเสนอต่อประชาคม การสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ แบบสอบถาม เป็นการเก็บข้อมูลด้วยการเก็บแบบสอบถามโดยถามความพึงใจและความคิดเห็นทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการวิจัย และการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 5 โครงการ โดยผลการศึกษาสภาพการจัดทำบัญชีและพัฒนารูปแบบการทำบัญชีพบว่า สมาชิกกลุ่มเกษตรกรบ้านปางหมู หมู่1 และบ้านสบสอย ส่วนใหญ่มีอาชีพเย็บ-ปักผ้าไต เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 45 – 47 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ย 6,896 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ไม่เคยทำบัญชีครัวเรือนมาก่อน สภาพหนี้สินของเกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สิน ปานกลางถึงน้อย สภาพการจัดทำบัญชีผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านปางหมูหมู่ 1 และบ้านสบสอยยังมีน้อย แต่ในทางกลับกัน ความรู้ในเรื่องของการทำบัญทั่วไปของกลุ่มมีอยู่มาก จากการทำกิจกรรมระดมสมองทำให้ทราบว่ากลุ่มเกษตรกรมีความรู้เรื่องบัญชีจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ แต่การบันทึกบัญชีของกลุ่มยังไม่มีการบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอรูปแบบการจัดทำบัญชีของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมู หมู่1และบ้านสบสอยนั้น ในการบันทึกบัญชีใช้เกณฑ์เงินสดในการลงสมุดบัญชี โดยถือเอาเงินสดที่ผ่านเข้า-ออกในครอบครัวของสมาชิกแต่ละคน โดยสมุดบัญชีประกอบไปด้วย วันเดือนปี รายรับแบ่งเป็นรายรับจากการขายผลิตภัณฑ์รายรับอื่น รวมรายรับรายจ่ายแบ่งเป็นรายรับจากการขายผลิตภัณฑ์และรายรับอื่น รวมรายรับ รายจ่ายแบ่งเป็นรายจ่ายผลิตภัณฑ์และรายจ่ายในครัวเรือน และรวมรายจ่าย จากนั้นทำการผ่านรายการไปยังงบกำไร-ขาดทุนของบัญชีผลิตภัณฑ์โดยรายละเอียดของงบกำไร-ขาดทุนประกอบไปด้วย รายได้ หักด้วย ต้นทุนและค่าใช้จ่าย หักค่าแรง หักรายจ่ายถัวเฉลี่ยสินทรัพย์ถาวรเฉลี่ยต่อรอบการผลิต หักวัตถุดิบคงเหลือ โดยหลังจากมีการฝึกอบรม กลุ่มเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ซึ่งจะนำความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในอนาคตและมีความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากทำบัญชีครัวเรือนแล้วค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลดลงในระดับมาก และในทางเดียวกัน เงินออมก็มีมากขึ้นเช่นกัน โดยในท้ายที่สุดเกิดการใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ประหยัด และใช้จ่ายเงินเท่าที่จำเป็น ในเรื่องของบัญชีผลิตภัณฑ์นั้น การทำบัญชีผลิตภัณฑ์ทำให้ทราบต้นทุนของผลิตภัณฑ์ในแต่ละเดือนอย่างแท้จริง ทราบผลการดำเนินงานจากการขายผลิตภัณฑ์ และสามารถแยกค่าใช้จ่ายระหว่างค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการผลิตได้ระดับมาก ทางกลุ่มเห็นว่า รูปแบบของสมุดบัญชีเข้าใจง่ายต่อการบันทึกบัญชีและจะทำบัญชีผลิตภัณฑ์ต่อไปการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้การพึ่งพาทรัพยากรภายในชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ผู้วิจัยจึงได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชน ผสานกับความรู้สากลของนักวิจัย พัฒนาการทำบัญชีของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรให้อยู่ในรูปแบบที่ ถูกต้อง เหมาะสม เป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ โดยได้นำเอาบัญชีครัวเรือนตามแนวทางการปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาผนวกเข้ากับการบัญชีผลิตภัณฑ์ซึ่งสมาชิกกลุ่มได้ทำสมุดบัญชีเล่มเดียวแต่ได้ประโยชน์ทั้งสองด้าน ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรมีเงินออม รักการจด รู้การจ่าย เกิดการออม ชีวิตมีความสุขนำไปสู่สังคมและชุมชนที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.format.mediumApplication/pdfth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherChiang Mai Rajabhat Universityth_TH
dc.rights©มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การบัญชีแบบมีส่วนร่วมth_TH
dc.subjectของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านปางหมูและบ้านสบสอยth_TH
dc.subjectการผลิตผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงth_TH
dc.subjectถั่วเหลืองth_TH
dc.subjectน้ำมันงาth_TH
dc.titleการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การบัญชีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้วยการจัดการความรู้ ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลืองและน้ำมันงาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปางหมูและบ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนth_TH
dc.title.alternativeThe Action Research of Community Enterprises in Knowledge Management of Accounting Development in Peanut, Soybean and Sesame Products of Pangmoo Village and Sobsoi Village Amphur Muang Meahongson Province.th_TH
dc.typeResearchth_TH
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover557.11 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract565.1 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent761.02 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-1.pdfChapter-1583.38 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-2.pdfChapter-21.66 MBAdobe PDFView/Open
Chapter-3.pdfChapter-3580.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-4.pdfChapter-4649.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter-5.pdfChapter-5550.02 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography471.22 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.