Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2335
Title: การสร้างชุดกจิกรรมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมเรื่อง อาหารของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่อง สารอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Other Titles: The Development of Learning Package Based on Science, Technology, Society and Environment Approach on Food of Hmong Ethnic Group for the Development of Conception on Nutrients for Prathom Suksa 6 Students
Authors: เยาวพา, นันต๊ะภูมิ
อโนดาษ์, รัชเวทย์
พสุ, ปราโมกข์ชน
Keywords: กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนประถมศึกษา
ม้ง -- แง่โภชนาการ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เรื่อง อาหาร สำหรับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม (Science, Technology, Society and Environment หรือ STSE) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สร้างขึ้น ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดย 1) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และ 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากปราชญ์ชาวบ้านด้านอาหาร และด้านประเพณี,พิธีกรรม แล้ววิเคราะห์องค์ความรู้วิทยาศาสตร์ที่แทรกอยู่ในภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ STSE แล้วทดลองใช้เครื่องมือกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 11 คน ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 10 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด STSE 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาแนวคิดเรื่อง สารอาหาร และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่อง สารอาหาร 2) แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ของครู 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน โดยผู้วิจัยจัดกลุ่มแนวคิดออกเป็น 5 แนวคิด จากนั้นหาความถี่ของแต่ละกลุ่มแล้วคิดเป็นร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สามารถแบ่งอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ม้งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อาหารที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม และอาหารที่ใช้รับประทานภายในบ้าน โดยใช้การวิเคราะห์ 4 ประเด็น ได้แก่ การวิเคราะห์เชิงวัสดุ การวิเคราะห์เชิงกระบวนการ การวิเคราะห์เชิงการนำไปใช้ และการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ 2) มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่บูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นอาหารกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 สืบค้น ขั้นที่ 3 แก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นสะท้อนคิด ขั้นที่ 5 ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นที่ 6 ขั้นขยายความรู้ และขั้นที่ 7 ขั้นนำไปปฏิบัติจริง 3) การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่อง สารอาหารหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกรอบแนวคิด STSE พบว่า สามารถพัฒนานักเรียนให้มีแนวคิดวิทยาศาสตร์ถูกต้องหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนทั้ง 5 แนวคิด โดยแนวคิดที่นักเรียน มีแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องมากที่สุดคือเรื่อง ความสำคัญของสารอาหารที่เหมาะสมต่อเพศและวัย คิดเป็นร้อยละ 54.55 รองลงมาคือแนวคิดเรื่อง การทดสอบสารอาหาร คิดเป็นร้อยละ 36.36 ส่วนแนวคิดเรื่อง ประเภทของสารอาหารและพลังงานจากสารอาหาร นักเรียนมีแนวคิดวิทยาศาสตร์ถูกต้องเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 27.27 และนักเรียนมีแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องน้อยที่สุดคือแนวคิดเรื่อง การเลือกรับประทานอาหาร คิดเป็นร้อยละ 18.18 แต่ยังพบนักเรียนที่มีแนวคิดวิทยาศาสตร์คลาดเคลื่อนมากที่สุดในแนวคิดเรื่อง การทดสอบสารอาหาร
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2335
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
เยาวพา นันต๊ะภูมิ_2563.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.