Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2287
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิ่งกาญจน์, ดวงแค-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคเหนือ)th_TH
dc.coverage.spatialเชียงใหม่th_TH
dc.coverage.spatialพร้าว (เชียงใหม่)th_TH
dc.date.accessioned2022-08-02T03:21:21Z-
dc.date.available2022-08-02T03:21:21Z-
dc.date.created2565-08-02-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/2287-
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตในด้านภาวะเตี้ย และภาวการณ์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแล การสร้างเสริมการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (Cross-section Survey Study) โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจากประชากร ทั้งหมด 455 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี และผู้ปกครองจำนวน จำนวน 294 คน และการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม มีผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มทั้งหมด 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามผู้ปกครองและได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน นำไปทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาที่ระดับความเชื่อมั่น 0.82 ใช้สถิติ Binary Logistic Regression Analysis และ Ordinal Regression Analysis เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวการณ์เจริญเติบโต ผลการศึกษา พบว่า เด็กปฐมวัยเป็นเพศหญิงร้อยละ 49.70 อายุเฉลี่ย 3 ปี มีภาวะเตี้ย คิดเป็นร้อยละ 15.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเตี้ย ได้แก่ การดื่มนมที่ไม่สม่ำเสมอของเด็ก (Adjusted OR 2.11, 95% CI 1.07-4.20) และการไม่ทำกิจกรรมทางกายของเด็กในช่วงวันหยุด (Adjusted OR 2.25, 95% CI 1.06-4.76) และพบภาวการณ์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 12.00 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวการณ์มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม (Adjusted OR 1.54, 95% CI 1.09-2.18) จากการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ผู้ปกครอง) ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยได้พบสภาพปัญหาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา และได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการดูแลสร้างเสริมการเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1 ส. (สร้างองค์ความรู้) 2 อ. (อาหารเฉพาะกลุ่ม, ออกกำลังกาย เพิ่มเวลาเล่น ลดเวลาเนือย) โดยมีวิสัยทัศน์ “กินดี ออกกำลังกายเป็น สมส่วนตามวัยไร้เด็กเตี้ยและเด็กอ้วน” หากดำเนินตามแนวทาง 1 ส. 2 อ. ผลลัพธ์ที่ได้ คือ จำนวนเด็กเตี้ยและเด็กอ้วนจะลดลงหรือหมดไปth_TH
dc.format.mediumPDFth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. สำนักหอสมุดth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่th_TH
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก--พร้าว (เชียงใหม่)th_TH
dc.subjectเด็ก--การดูแล--พร้าว (เชียงใหม่)th_TH
dc.subjectเด็ก--การเจริญเติบโต--พร้าว (เชียงใหม่)th_TH
dc.subjectพัฒนาการของเด็กth_TH
dc.subject.ddc613.0432th_TH
dc.titleการพัฒนาแนวทางการดูแลการเจริญเติบโตของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of Growth Guidelines For Pre-School Children in Child Development Centers Under Local Government Organizations in Phrao District, Chiang Mai Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.contributor.advisorสายหยุด, มูลเพ็ชร์-
dc.contributor.advisorสามารถ, ใจเตี้ย-
dc.thesis.degreenameMaster of Public Healthth_TH
dc.thesis.levelMasterth_TH
dc.thesis.disciplineFaculty of Public Healthth_TH
dc.identifier.callnumberวพ 613.0432 ก32ก-
Appears in Collections:Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
กิ่งกาญจน์ ดวงแค_2563.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.