Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1943
Title: การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ปีที่ 2
Other Titles: Promoting the production of the organic agricultural products in the Chiang Mai community to compete in ASEAN Phase 2
Authors: เบญจมาศ, สันต์สวัสดิ์
Keywords: เกษตรอินทรีย์
ชุมชนเกษตร
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Organic agriculture
Agricultural community
ASEAN
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ และ เพื่อวิจัยและพัฒนาศักยภาพภาคการเกษตรของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 กลุ่มเกษตรกรได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามงานวิจัย ในประเด็น “การตลาดนำการผลิต : มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล” “ข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และแนวทางปฏิบัติ” และ “ระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System : PGS)” จากนั้นวิเคราะห์ศักยภาพด้วย SWOT analysis และ อภิปรายผลด้วยข้อมูลสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยในลักษณะของสถิติเชิงพรรณนา แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มเกษตรและสามารถหาแนวทางในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน ผลการวิจัยกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ให้ยกระดับศักยภาพการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในชุมชนได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.46 โดยเป็นการเพิ่มศักยภาพในด้านการตลาดนำการผลิต : มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 การเพิ่มศักยภาพในด้านข้อกำหนดมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และแนวทางปฏิบัติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.35 ส่วนการเพิ่มศักยภาพในระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System : PGS) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59 ทั้งนี้การวิจัยในระยะต่อไป ควรขยายงานในภาพของความเป็นล้านนา เนื่องจากบริบทชุมชนและบริบทของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่มีความคล้ายคลึงกับจังหวัดอื่น ๆ อีก 7 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีความเป็นล้านนาอย่างสูง และมีสินค้าเกษตรที่หลากหลายจะทำให้เกิดการขับเคลื่อนการวิจัยเพื่อพัฒนาและการวิจัยเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรของชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ ให้มีศักยภาพการแข่งขันในอาเซียน บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมของความเป็นเกษตรล้านนาได้เป็นอย่างดี
Description: The first objective of this research was to study the potential of the agricultural community in Chiang Mai. The second objective was further to research and creatively develop the agricultural sector based on the sufficiency economy with a promotion of organic agricultural production and its products in the community. The quantitative research was supported by quantitative analysis. The primary data was collected from three groups of farmers who participated voluntarily through local government organization. The survey research was questioned on three issues, namely, market leading: international organic standards, organic standard requirements and practices, and Participatory Guarantee System or PGS. The potential of organic production was analyzed with SWOT analysis and later discussed the statistical data using the average in the nature of descriptive statistics. This will be able to find ways to promote organic production in the community of Chiang Mai reaching a potential competition in the ASEAN. The research in the group of major agricultural producers, farmers in Chiang Mai showed an increase in the capacity of promoting the production of organic products in the community by 2.46%. The increase in three potential issues was a market leading of international organic standards by 3.44%, organic standard requirements and practices by 2.35%, and PGS by 1.59%. The next stage of research, the image of Lanna, should be expanded to seven other provinces due to a similarity of the urban context and the context of a group of farmers in Chiang Mai , Chiang Rai, Phayao, Phrae, Nan, Lampang, Lamphun and Mae Hong Son. This is a highly Lanna style of a wide variety of agricultural products. The Lanna perspective will be driving the research in further development the agricultural communities in Chiang Mai for commercial and public benefits. This includes the potential competition in the ASEAN region based on the philosophy of sufficient economy in a sufficient overview of Lanna agriculture.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1943
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)495.55 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)443.72 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)453.78 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่ 1)512.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่ 2)719.82 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่ 3)539.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่ 4)448.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่ 5)833.98 kBAdobe PDFView/Open
Chapter6.pdfChapter6(บทที่ 6)638.92 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography(บรรณานุกรม)414.57 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.