Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1941
Title: การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ไขปัญหาหลักการใช้ภาษาไทยของนักเรียนคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The Development of Computer Assisted Instruction to Solve Thai Principle and Usage Problems of Secondary School Kachin Ethnic Students
Authors: ณัฏฐ์ฤทัย, อรณุศิโรจน์
เฉลิมชัย, ไชยชมภู
Keywords: ไวยากรณ์แทคมีมิก
วากยสัมพันธ์คะฉิ่น
ภาษาคะฉิ่น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
Tagmemic
Kachin Syntax
Kachin Language
Computer Assisted Instruction
Issue Date: 2019
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระบบวากยสัมพันธ์ภาษาคะฉิ่น ใน ระดับหน่วยคำ คำ วลี อนุพากย์ และประโยค โดยใช้ทฤษฎีแทคมีมิก (Tagmemic) ของ Thomas (1993) และเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างระบบวากยสัมพันธ์ภาษาคะฉิ่นและภาษาไทย 2) เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์เรื่องการเรียนรู้วากยสัมพันธ์ภาษาไทยสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะ ฉิ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองเขียวและโรงเรียนอรุโณทัยวิทยาคม อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้าน หลักการใช้ภาษาไทยในเรื่องระบบวากยสัมพันธ์ภาษาไทย ก่อนและหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องหลักการใช้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น คู่มือประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องหลักการใช้ภาษาไทยสำหรับนักเรยีน ไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เรื่องหลักการใช้ ภาษาไทยสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนก่อนและหลังใช้เครื่องมือ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการใช้ แบบฝึกมาหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า จากการเปรียบต่างระหว่างระบบโครงสร้างของภาษาไทยกับระบบ โครงสร้างภาษาคะฉิ่นจะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างของระบบภาษาทั้งสองมีความเหมือนกัน และแตกต่าง กัน โดยความแตกต่างที่ปราฏในโครงสร้างนามวลีระหว่างระบบภาษาทั้งสองคือนามวลีในภาษาไทย และภาษาคะฉิ่นวางตำแหน่งของส่วนขยายคำนามไว้แตกต่างกัน กล่าวคือภาษาไทยวางตำแหน่งส่วน ขยายคำนามไว้ข้างหลังคำนามหลัก ส่วนภาษาคะฉิ่นวางตำแหน่งส่วนขยายคำนามไว้ทั้งข้างหน้าและ ข้างหลังคำนามหลัก สำหรับโครงสร้างกริยาวลีพบว่ากริยาวลีในภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นวางตำแหน่ง ของส่วนขยายคำกริยาไว้เหมือนกันและแตกต่างกัน ดังนี้ทั้งภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นคำกริยาวิเศษณ์ บอกลักษณะจะปรากฏหลังคำกริยาหลัก แต่ความแตกต่างของระบบโครงสร้างกริยาวลีที่เกิดขึ้นของ ทั้งสองภาษา ในภาษาไทยมีการใช้คำกริยาวิเศษณ์ที่แสดงความถี่ เวลาและสถานที่เพื่อขยายคำ กริยาหลัก ซึ่งจะวางตำแหน่งไว้ด้านหลังคำกริยา ส่วนในภาษาคะฉิ่นนั้นจะวางตำแหน่งของคำกริยา วิเศษณ์ดังกล่าวไว้หน้าคำนามหลัก ซึ่งลักษณะประการหลังนี้จะไม่ปรากฏในภาษาไทย นอกจากนั้นใน กรณีที่คำที่แสดงทัศนภาวะ เช่นคำว่า “ต้อง”, หรือ “จะ” ซึ่งทำหน้าที่ขยายคำกริยาหลัก บ่งบอก ความเป็นไปได้ ในภาษาไทยคำเหล่านี้จะปรากฏหน้าคำนามหลักเสมอ ซึ่งตรงกันข้ามกับการเรียงคำใน ภาษาคะฉิ่น เนื่องจากในภาษาคะฉิ่นจะวางคำเหล่านี้ไว้ข้างหลักคำกริยาหลัก สำหรับคำว่า ‘ควร’ ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นชนิดของกริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) ในภาษาไทยจะ วางตำแหน่งของคำดังกล่าวไว้ด้านหน้ากริยาหลัก ส่วนในภาษาคะฉิ่นจะถูกวางตำแหน่งไว้ด้านหลัง กริยาหลัก ถ้าในคำกริยาวลีนั้นมีการปรากฏของคำที่แสดงทัศนภาวะ เช่นคำว่า ‘ต้อง’ โครงสร้างของ คำกริยาวลีดังกล่าวจะมีการเรียงลำดับ คำกริยาวลีหลัก ±คำที่แสดงทัศนภาวะ ±กริยาช่วย /ga/ ‘ควร’ และส่วนประกอบกริยาวลีสุดท้ายที่มีความแตกต่างกันระหว่างภาษาไทยและภาษาคะฉิ่น คือ คำที่แสดงกาล (tense) ในภาษาไทยคำที่แสดงกาล เช่นคำว่า ‘กำลัง’, ‘อยู่’, ‘แล้ว’ จะถูกกำหนดให้ อยู่ในตำแหน่งด้านหน้าหรือด้านหลังคำกริยาหลัก ส่วนในภาษาคะฉิ่นคำเหล่านี้จะถูกกำหนดให้อย่ใูน ตำแหน่งด้านหลังของคำกริยาหลักเท่านั้น ซึ่งในภาษาคะฉิ่น จะใช้คำว่า /nga/ หรือ /taw/ ‘กำลัง/ อยู่’ แสดงการกระทำที่ผู้พูดกำลังทำอยู่ และ /sai/ ‘แล้ว’ แสดงการกระทำที่ผู้พูดได้ทำเสร็จเรียบร้อย แล้ว การเปรียบต่างส่วนประกอบวลีซึ่งประกอบไปด้วยคำคุณศัพท์วลี คำวิเศษณ์วลี และบุพบทวลี ในภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นคำคุณศัพท์วลีถูกใช้ในการขยายคำนาม แต่เนื่องจากภาษาคะฉิ่นเป็น ภาษาที่มีคำคุณศัพท์ขนาดเล็ก (Hanson, 1896) ซึ่งคำคุณศัพท์ในภาษาคะฉิ่นจะมีวงคำศัพท์เพียงแค่ 4 ประเภทเท่านั้นคือคำคุณศัพท์ที่แสดงมิติ อายุ คุณค่าและสี ซึ่งจะถูกกำหนดให้วางอยู่ตำแหน่งหลัง คำนามดังเช่นการเรียงคำนามวลีในภาษาไทย แต่สำหรับคำคุณศัพท์ที่นอกเหนือจากวงคำศัพท์ 4 ประเภทนี้จะถูกกำหนดให้วางไว้ด้านหน้าคำนามหลักและตามด้วยการกที่ใช้สร้างนามวลี ‘ai’ สำหรับคำกริยาวิเศษณ์วลีในภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นมีหน้าที่เหมือนกันคือใช้ขยายกริยาให้ มีความชัดเจนมากขึ้น ในส่วนของตำแหน่งการเรียงคำพบว่ามีความเหมือนกันระหว่างโครงสร้างของทั้ง สองภาษา กล่าวคือคำวิเศษณ์วลีจะปรากฏอยู่ข้างหลังคำกริยาหลัก และบุพบทวลีในภาษาไทยและ ภาษาคะฉิ่นถูกใช้เพื่อทำหน้าที่ขยายให้ประโยคมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยลักษณะการปรากฏของ บุพบทวลีในภาษาคะฉิ่นจะแตกต่างกับภาษาไทย สำหรับโครงสร้างในระดับประโยคของภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นพบว่าในภาษาไทยโครงสร้าง ในระดับประโยคความเดียวจะประกอบด้วยประธานตามด้วยกริยาและกรรม ส่วนในภาษาคะฉิ่นจะพบ การเรียงคำในรูปแบบที่แตกต่างกันคือประธานตามด้วยกรรมและกริยา และท้ายประโยคบอกเล่าจะมี ตัวกำกับการก /ai/ เพื่อบ่งบอกว่าประโยคเหล่านี้เป็นประโยคบอกเล่าเสมอ ส่วนโครงสร้างในระดับประโยคความรวมนั้นพบว่าในภาษาไทยจะพบประโยคความรวมที่มี คำเชื่อมปรากฏอยู่ในตำแหน่งต่างกัน 2 ตำแหน่ง คือมีคำเชื่อมอยู่หน้าประโยคและมีคำเชื่อมอยู่ระหว่าง ประโยคทั้งสอง ส่วนในภาษาคะฉิ่นพบประโยคความรวมที่มีคำเชื่อมปรากฏอยู่ในตำแหน่งต่างกัน 3 ตำแหน่งคือมีคำเชื่อมอยู่หน้าประโยค ท้ายประโยค และอยู่ระหว่างประโยคทั้งสอง และการวิเคราะห์ การเปรียบต่างระหว่างโครงสร้างประโยคความซ้อนระหว่างภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นพบว่าปรากฏทั้ง ความเหมือนและความแตกต่าง โดยลักษณะที่เหมือนกันคือทั้งในภาษาไทยและภาษาคะฉิ่นมีอนุพากย์ คุณศัพท์และอนุพากย์วิเศษณ์ ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายในประโยคความซ้อน แต่สำหรับการเรียงคำพบว่า ในภาษาไทยอนุพากย์เหล่านี้จะวางอยู่ในตำแหน่งข้างหลังของคำนามหลักที่มันขยายอยู่ ส่วนในภาษาคะ ฉิ่นจะวางไว้ในตำแหน่งข้างหน้าของคำหลัก นอกจากนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อแก้ไขปัญหาหลักการใช้ภาษาไทย สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพในระดับดี จากการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และมีคุณภาพในระดับดี จากการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการผลิตสื่อ และ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและบทเรียนคอมพิวเตอร์ฯ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.47/81.23 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทย เชื้อสายคะฉิ่นจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา ทางด้านหลักการใช้ภาษาไทยสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: The objectives of this research were to study in the syntactic structure of Kachin at the phoneme, word, phrase, clause and sentence levels by applying the Tagmemic theory of Thomas (1993) and to compare the differences of Kachin and Thai syntactic structures; to construct the computer-assisted language learning lessons on Thai syntactic structures with the efficiency standard criteria of 80/80 for secondary Kachin students at Nong Khiaw and Arunothai Withayakhom schools in Chiang Dao district, Chiang Mai province; and to compare the students' learning achievements before and after implementing the computer-assisted language learning program. The research instruments included the computer-assisted language learning program on principles of Thai syntactic usage for the Kachin students, the handbook for the implementation of the program, and the learning achievement test that was administered before and after the implementation of the program. The pre-test and post-test scores were analyzed for mean, standard deviation and t-test. The research results revealed that there are both similarities and differences of the phonological and syntactic structures between the two languages. For the noun phrase structure, a modifier always follows the noun head in Thai, but it can either precede or follow the noun head in Kachin. For the verb phrase structure, adverbs of manner follow the verb head in both languages. However, adverbs or frequency, time and place follow the verb head in Thai but precede the verb head in Kachin. จ ฉ Additionally, modality like 'must' or 'will' indicating obligation and possibility always precedes the verb head in Thai, but follows the verb head in Kachin. For the word 'should', which is an auxiliary verb in Thai, it always precedes the verb head in Thai but follows the verb head in Kachin. For the verb phrase with modality like 'must' in Kachin, the structural sequence is verb head ± modality ± auxiliary verb /ga/ 'should'. As for words indicating tenses (progressive and perfective), they can precede or follow the verb head in Thai, whereas they can only follow the verb head in Kachin. In Kachin, /nga/ or /taw/ indicate the progressive aspect and /sai/ indicates the perfective aspect. At the phrase level, the comparison is on adjective, adverb and prepositional phrases. An adjective phrase is used to modify a noun in the two languages. However, adjectives in Kachin is small and closed (Hanson, 1896). Four types of adjectives that express dimension, age, value and color are placed after a noun head as in Thai. Other adjectives are placed before the noun head, followed by the nominal case /ai/. For the adverb phrase, its function is to modify the main verb in a sentence in both languages. Its position in the two languages is the same in that it follows the main verb. The prepositional phrase is used to modify and clarify the sentence in the two languages, but its occurrence in the sentence is different in the two languages. For the sentence structures, it is found that the simple sentence structure in Thai consists or subject + verb + object. However, it is subject + object + verb in Kachin and the statement always ends with the case /ai/. For the compound sentence structure, connectors can occur at the beginning or between the two sentences in Thai. In Kachin, they can occur at the beginning, at the end or between the two sentences. For the complex sentence, both languages utilize adjective and adverb clauses as modifiers. However, these modifiers follow the noun heads in Thai, whereas they precede the noun heads in Kachin. The computer-assisted language learning lessons were assessed to be at a good level by the experts in contents and in media techniques and production and educational technology. The efficiency of the lessons was 83.47/81.23. For the students' learning achievement, their posttest scores were significantly higher then their pre-test scores at the.01 level.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1941
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover(ปก)422.49 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract(บทคัดย่อ)422.42 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent(สารบัญ)781.57 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdfChapter1(บทที่1)590.2 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdfChapter2(บทที่2)708.77 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdfChapter3(บทที่3)521.66 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdfChapter4(บทที่4)1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdfChapter5(บทที่5)432.76 kBAdobe PDFView/Open
Biobliograpsy.pdfBibliography(บรรณานุกรม)441.21 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix(ภาคผนวก)445.69 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.