Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1480
Title: การประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตรอันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: กรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม
Other Titles: An Assessment of Spatial Vulnerability and Its Impacts on Agroecosystem as a Result of Changing Climate: A Case Study of Mae Rim Watershed, Chiang Mai
Authors: เสมมหาศักดิ์, สุโข
อัจฉริยมนตรี, อัตถ์
เสมมหาศักดิ์, ชุติวลัญชน์
Keywords: ผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตร
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ลุ่มน้ำแม่ริม
ความเปราะบางเชิงพื้นที่
เชียงใหม่
Issue Date: 2559
Publisher: Chiangmai Rajabhat University
Abstract: เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าสภาวการณ์ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ณ ปัจจุบัน เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นปัญหาที่สำคัญในทุกสังคม โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตร ซึ่งเป็นแหล่งในการสร้างความมั่นคงอาหารให้กับชุมชน ดังนั้น การแสวงหาแนวทางในการรับมือจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ การประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตรอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราทราบถึงบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะนำไปสู่แนวทางในการปรับตัวของทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อไป ในการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่และผลกระทบต่อระบบนิเวศเกษตรอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถนำข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถาม แล้วนำมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติและการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์เข้ามาประมวลผลร่วมกันในการศึกษาวิจัย โดยใช้แผนที่เป็นเครื่องมือหลักในการศึกษาวิจัยและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความเปราะบางเชิงพื้นที่ในกรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการเพาะปลูกพืชในระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินศักยภาพการรับรู้ของเกษตรกรในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ริมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) เพื่อประยุกต์ใช้แบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่ริม และ 4) เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงกายภาพของพื้นที่เกษตรกรรมและการปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำแม่ริม ผลลัพธ์ที่ได้จากการแปลภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8 บริเวณพื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำแม่ริม ปี พ.ศ. 2559 พบว่า รูปแบบการเพาะปลูกพืชในระบบนิเวศเกษตรลุ่มน้ำแม่ริมส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตรแบบเพาะปลูกพืชไม้ผลมากที่สุดโดยเฉพาะการปลูกกล้วย รองลงมาได้แก่ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส้มเขียวหวาน และข้าว ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นภูเขา ในขณะที่บริเวณที่ราบลุ่ม ซึ่งเหมาะสำหรับปลูกข้าวนั้นมีอยู่เป็นส่วนน้อยตามแนวริมฝั่งของน้ำแม่ริมและลำน้ำสาขาย่อย ในด้านการรับรู้ของเกษตรกรที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถสังเกตและรับรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการรับรู้ในด้านการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนที่ลดลงและจำนวนวันของฝนตกที่มีระยะที่สั้นลง รวมถึงสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สำหรับการรับรู้ของเกษตรกรที่มีต่อผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น พบว่า การสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรอันเนื่องมาจากภัยแล้ง การบุกรุกและการแพร่ระบาดของศัตรูพืช และความชุกของโรคที่ปรากฏในพืชและสัตว์ คือผลกระทบเชิงลบที่มีความสำคัญที่สุดในสามลำดับแรกที่เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ริมส่วนใหญ่ประสบในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ในการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ริม งานวิจัยชิ้นนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดและเทคนิคการวิเคราะห์ขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยผลจากการประเมินความเปราะบางเชิงพื้นที่รวมทั้งหมดในลุ่มน้ำแม่ริมสรุปได้ว่า เขตนิเวศเกษตรที่ลุ่มมีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับรุนแรงสุดโดยคิดเป็นพื้นที่ 15.85 ตารางกิโลเมตร แหล่งชุมชนหลายชุมชนในบริเวณพื้นที่ลุ่มทางตะวันออกของลุ่มน้ำนี้ เช่น บ้านนาหึก บ้านสันป่ายาง และบ้านดอนเจียง ตกอยู่ในพื้นที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับรุนแรงที่สุด ในขณะที่พื้นที่ในเขตนิเวศเกษตรที่ดอนพบพื้นที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับรุนแรงที่สุดเป็นหย่อมพื้นที่ขนาดเล็กอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับเขตนิเวศเกษตรที่ลุ่มคิดเป็นพื้นที่ 1.27 ตารางกิโลเมตร สำหรับในเขตนิเวศเกษตรที่สูงไม่ปรากฏพื้นที่ที่มีความเปราะบางในระดับรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแต่อย่างใด ในด้านการศึกษาทางเลือกสำหรับการปรับตัวของเกษตรกรหากต้องประสบกับปัญหาภัยแล้งในระยะยาวนั้นพบว่า เกษตรกรลุ่มน้ำแม่ริมส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 70 เลือกที่วิธีการปรับตัวโดยการหาอาชีพเสริมนอกเหนือจากการเพาะปลูก เช่น การรับจ้างทั่วไป การทอผ้า ขายของชำ และกิจการร้านอาหารในชุมชน รองลงมาประมาณร้อยละ 64 เกษตรกรเลือกที่จะปรับตัวโดยใช้วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ทำเกษตรกรรม และอันดับสามเกษตรกรกว่าร้อยละ 60 เลือกการปรับตัวโดยการสร้างระบบกักเก็บน้ำที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้ในการเพาะปลูกในยามแล้ง เช่น การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำเพิ่มในพื้นที่ของตน ส่วนในกรณีของการปรับตัวต่อปัญหาด้านภัยอุทกภัยในระยะยาวนั้นเกษตรกรลุ่มน้ำแม่ริมส่วนใหญ่ร้อยละ 62 เลือกที่วิธีการปรับตัวโดยการหาอาชีพเสริมนอกเหนือจากการเพาะปลูก รองลงมาร้อยละ 61.4 เลือกการปรับตัวโดยใช้วิธีการปลูกพืชหมุนเวียนในพื้นที่ทำเกษตรกรรม และอันดับสามเกษตรกรร้อยละ 59 เลือกการปรับตัวโดยการเพาะปลูกข้าวเพียงอย่างเดียว
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1480
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfปก409.5 kBAdobe PDFView/Open
Preface.pdfคำนำ567.93 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfสารบัญ459.47 kBAdobe PDFView/Open
Chapter.pdfเนื้อหา4.79 MBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfภาคผนวก499.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.