Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1377
Title: การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของโครงการแผนกลยุทธ์ การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปีที่ 3
Authors: กาญจนา, ทองบุญนาค
Keywords: การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มของโครงการแผนกลยุทธ์
การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของโครงการแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านธุรกิจชุมชน ด้านเกษตร ด้านสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้านเด็กและเยาวชน ด้านผู้สูงอายุและผู้พิการ ด้านการศึกษา และด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสนับสนุนด้วยการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากข้อมูลปฐมภูมิของชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 2,064 ชุมชน อาศัยวิธีการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR) วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ ข้อเสนอแนะ และแนวทางเตรียมความพร้อมของชุมชน กรณีวิเคราะห์เชิงปริมาณจะอภิปรายผลด้วยสถิติอย่างง่าย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน กรณีวิเคราะห์เชิงคุณภาพ จะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา มาประมวลเพื่อยืนยันหรือเสริมข้อมูลเชิงปริมาณให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างกลยุทธ์ในการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ได้จำนวน 32 กลยุทธ์ ประกอบไปด้วย 4 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์พลิกฟื้น กลยุทธ์ตัดทอน กลยุทธ์เชิงรุก และกลยุทธ์การรักษาเสถียรภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะใช้กลยุทธ์ที่ได้ไปจัดทำแผนและโครงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในแต่ละด้าน และยื่นขออนุมัติจากผู้บริหารและทีมสภาของเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อนำแผนไปสู่การดำเนินงาน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการได้สร้างโครงการต่าง ๆ ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มของการวิจัยครั้งนี้ให้บรรจุลงในแผนของอปท. โดยโครงการที่อปท.ได้จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนสู่ประชาคมอาเซียน มีทั้งหมด 9 โครงการ โดยโครงการด้านธุรกิจชุมชน คือ โครงการวิสาหกิจชุมชนประติมากรรมดินเผาบ้านป่าตาล ด้านเกษตรชุมชน คือ โครงการผลิตปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในด้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ โครงการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนทั้ง 8 ด้าน ด้านสุขภาพ อนามัย และสิ่งแวดล้อม คือ โครงการศูนย์สุขภาพหนึ่งเดียวตำบลออนใต้ร่วมกับแรงงานเพื่อนบ้าน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ คือ โครงการการยกระดับผลผลิต และเพิ่มคุณภาพทางการเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์อาเซียน ด้านเด็กและเยาวชน คือ โครงการพัฒนาทักษะเยาวชนอาเซียน ด้านผู้สูงอายุและผู้พิการ คือ โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุนิมิตรสุขตำบลห้วยทรายอยู่กับอาเซียนอย่างมีความสุข ในด้านการศึกษา คือ โครงการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่ต้นแบบอาเซียนศึกษา ส่วนด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ โครงการไทเขินในโลกดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้ได้ปรับให้เหมาะสมกับชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน (2) ระบุประเด็นที่จะนำไปสู่การวางกลยุทธ์ เป็นการประมวล จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือ การทำ SWOT matrix เพื่อพิจารณา ปัญหา ช่องว่าง และประเด็น ที่ควรจะกำหนดกลยุทธ์ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก (3) การกำหนดกลยุทธ์ เป็นการจัดทำข้อเสนอในรูปของทางเลือกต่าง ๆ ที่ควรจะดำเนินงาน ทั้งในส่วนของงานประจำและงานโครงการ การศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ การจัดสรรทรัพยากร และการจัดทำเอกสารแผน (4) วิธีการพัฒนาศักยภาพของชุมชน และ (5) ผลการพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน เป็นขั้นตอนท้ายสุดที่มีความสำคัญ เพราะในการประเมินผลจะนำข้อมูลไปใช้สำหรับการปรับกลยุทธ์และแผนต่อไป โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงาน จนเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงรูปธรรม สอดคล้องกับแนวคิดของชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ (2546) และ John M.Bryson (1995) ซึ่งอธิบายว่าการบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ตามพันธกิจ (mission) หรือภารกิจขององค์กร โดยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะผู้ที่ได้ผลประโยชน์จากองค์กร (stakeholders) ซึ่งในระยะต่อไปของการวิจัยเรื่องแผนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มธุรกิจชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ต้องพัฒนาไปให้ถึงระดับปฏิบัติการ มีการติดตาม ประเมินผล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์จนเป็นต้นแบบ (Best Practice) ให้กับชุมชนอื่นต่อไป
Description: This research aims to create value added of 9 strategic plans to increase the poetentiality of Chiang Mai communities under ASEAN communities. . It is the qualitative research and supported by quantitative research from primary data of 2,064 communities in Chaing Mai. Participatory action research including positive and negative analysis were used in this study. Descriptive analysis such as mean, percentage and standard deviation as well as content analysis were also used to fulfill the quantitative data. This study could create 32 strategic plans to increase the potentialities of community in Chiang Mai. 32 strategic plans consisted of 4 strategies; turn around , retrenchment, aggressive and stable strategies. Local administrative organizations attended in this development project could create 9 projects which helped them to increase the potentialities of communities. All of these 9 projects consisted of 1) community business; small and micro enterprise of Patan sculpture ; 2) agriculture; producing the fermentation from waste materials; 3) local administrative organizations; increasing the potentiality of communities; 4) health, hygiene and environment; one medical center project at Ontai; 5) natural resource management; project to enhance the productivities and improve agricultural standard to reach ASEAN organic agriculture; 6) children and youth; project to develop skill of youth in ASEAN; 7) elderly and disable people was happy elderly school at Huaysai district; 8) education was project to develop the potentiality of child care center towards best practice of ASEN study and 9) social and culture was project of Thai Khuen in the digital world. This research had adjusted 5 processes to be suitable with communities. All of these 5 process were as follow; 1) evaluated the internal and external environment; 2) made SWOT matrix to consider problems in order to identify both approach and aggressive strategies; 3) made the proposed which could be the choices for communities to select for operation regarding how to allocate resources and make plans; 4) develop the potentiality of community and 5) the result of developing the strengths of community was important because information would be used to adapt plans and strategies and be supported by local administrative organizations. This was consistent to Chaisit Chalermmepasert and John M Bryson (1995) explained that strategic management means the operation to attain the goal of organization by making relationship of organizations to be suitable with environment and stakeholders. The next phase of study should develop to operation staffs including follow up and make the evaluation for achievement as the best practice for other communities.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1377
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Cover.pdfCover494.88 kBAdobe PDFView/Open
Abstract.pdfAbstract597 kBAdobe PDFView/Open
Content.pdfContent839.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdfChapter 1621.54 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdfChapter 22.45 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdfChapter 3893.39 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdfChapter 43.05 MBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdfChapter 5802.68 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 6.pdfChapter 6704.73 kBAdobe PDFView/Open
Bibliography.pdfBibliography471 kBAdobe PDFView/Open
Appendix.pdfAppendix779.64 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.