Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1282
Title: การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวไร่พื้นเมืองในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Genetic diversity of local upland rice in Chiang Mai
Authors: ศรัณย์ จีนะเจริญ, จีนะเจริญ
Keywords: ความหลากหลายทางพันธุกรรม
พันธุกรรมของข้าวไร่พื้นเมือง
ข้าวไร่พื้นเมือง
Issue Date: 2561
Publisher: Chiang Mai Rajabhat University
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าวไร่พื้นเมืองที่รวบรวมจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรม โดยพันธุ์ข้าวที่รวบรวมได้มีทั้งหมด 37 พันธุ์ นำมาศึกษาลักษณะเชิงปริมาณ คือ ความยาวของข้าวเปลือก ความยาวของข้าวกล้อง น้ำหนักของข้าวเปลือก และน้ำหนักของข้าวกล้อง ลักษณะเชิงคุณภาพ คือ สีของข้าวเปลือก และสีของข้าวกล้อง พบว่าลักษณะความยาวของเมล็ดข้าวเปลือกมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นสุด คือ พันธุ์บือวา เฮาะฮลังโนง (เชียงราย) ข้าวหอมมะลิดอย 1 และพันธุ์เฮงาะเลอเทอ-อิญ ลักษณะความยาวของเมล็ดข้าวกล้องพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ซึ่งมีข้าวหอมมะลิดอย 1 และเฮงาะฮลังโนง (เชียงราย) ที่มีลักษณะที่เด่นกว่าพันธุ์อื่น ๆ น้ำหนักของข้าวเปลือกพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นที่สุด คือ พันธุ์ข้าวหมากแดง และปิอิหง่อ ส่วนน้ำหนักเมล็ดข้าวกล้องพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นที่สุด คือ ข้าวหมากแดง และปิอิหง่อ เช่นเดียวกับน้ำหนักของข้าวเปลือก การศึกษาลักษณะเชิงคุณภาพพบว่า สีของข้าวเปลือกที่พบจำนวนมากที่สุด คือ สีฟาง โดยพบร้อยละ 55.1 ของทั้งหมด และสีของข้าวกล้องที่พบมากที่สุด คือ สีขาว โดยพบร้อยละ 56.5 ของทั้งหมด ดังนั้นความแตกต่างของลักษณะสัณฐานวิทยาของเมล็ดข้าวไร่พื้นเมืองเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมที่แสดงออกมาเป็นฟีโนไทป์ สามารถนำมาเป็นลักษณะประกอบในการคัดเลือกสายพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ และการอนุรักษ์พันธุ์ได้
Description: Thirty seven varieties of upland rice seed were collected from Chiang Mai and Mae Hong Sorn area. All rice varieties were analyzed using the seed, both of paddy and brown rice, length, weight and color to answer the question that how relate of upland rice are. The result showed the significant difference (P<0.05) of paddy which are longer than other i.e. Bue Wa, Hueh Hlang Nong, Hom Mali Doi 1 and Hngueh Ler Ther Inn. The length of brown rice also presented significant length of Hom Mali Doi 1 and Hueh Hlang Nong more than other varieties (P<0.05). The paddy and brown rice weight of Mark Daeng and Pi Ei Ngor showed significant difference with P<0.05. The colour of rice seed displayed variation with white, brown, red, black and mixture. The seed phenotype variation represented genetic variation of upland rice which be able to use for rice breeding and conservation aspect.
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1282
Appears in Collections:Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1.Cover.pdfCover641.35 kBAdobe PDFView/Open
2.Abstract.pdfAbstract699.6 kBAdobe PDFView/Open
3.Content.pdfContent894.57 kBAdobe PDFView/Open
4.Chapter-1.pdfChapter-1588.46 kBAdobe PDFView/Open
5.Chapter-2.pdfChapter-2650.73 kBAdobe PDFView/Open
6.Chapter-3.pdfChapter-3590.71 kBAdobe PDFView/Open
7.Chapter-4.pdfChapter-4977.26 kBAdobe PDFView/Open
8.Chapter-5.pdfChapter-5618.02 kBAdobe PDFView/Open
9.Bibliography.pdfBibliography489.66 kBAdobe PDFView/Open
10.Appendix.pdfAppendix816.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.