Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1129
Title: เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพทางมนุษยนิเวศวิทยาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Other Titles: Sufficiency economy: the genius in human ecology of his Majesty the King
Authors: มนัส, สุวรรณ
ถนัด, บุญชัย
Keywords: เศรษฐกิจพอเพียง
มนุษยนิเวศวิทยา
ภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470-2559 -- พระอัจฉริยภาพ
นิเวศวิทยามนุษย์
การพัมนาแบบยั่งยืน
Issue Date: 2560
Publisher: สำนักหอสมุด. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
Citation: ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน: รวมบทความวิจัย บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2560, หน้า 1-8
Abstract: อะไรก็ตามที่มีความเป็นธรรมชาติ อะไรก็ตามนั้นย่อมมีความเป็นสมดุลและอะไรก็ตามที่มีความเป็นสมดุล อะไรก็ตามนั้นย่อมมีความมั่นคงยืนนานความมั่นคงยืนนานนี้เองที่เรียกขานในทางวิชาการว่า “ความยั่งยืน” (Sustainability) ระบบสังคม และระบบนิเวศก็คล้ายกับระบบอื่น ๆ ซึ่งต่างก็มีองค์ประกอบของระบบทำหน้าที่เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าองค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ความสมดุลและความยั่งยืนของระบบก็จะบังเกิดขึ้น น่าเสียดายที่ระบบนิเวศโลก (Global Ecosystem) กำลังสูญเสียความสมดุลอันเนื่องมาจากองค์ประกอบหนึ่ง คือ ประชากรมนุษย์กำลังใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ในฐานะผู้บริโภค ด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศโลกมาใช้จนเกินขีดความสามารถที่ธรรมชาติจะรองรับได้ (Natural Carrying Capacity) ความยั่งยืนของระบบนิเวศโลกกำลังเสื่อมถอย ที่น่าวิตกมากกว่านี้คือ ระบบนิเวศโลกอาจถึงกาลแตกสลายหากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการทำให้ความสมดุลกลับคืนมา บทความนี้ เขียนขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์ให้เห็นถึงพระปรีชาญาณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระราชดำริเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านมนุษยนิเวศวิทยา (Human Ecology) โดยใช้หลักการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างสังคมให้เกิดความสมดุลและความยั่งยืนยากที่จะมีผู้ใดทำได้เสมอเหมือน
URI: http://cmruir.cmru.ac.th/handle/123456789/1129
ISBN: 9786167669519
Appears in Collections:Article

Files in This Item:
File SizeFormat 
2บทความพิเศษมนัสสุวรรณ.pdf415.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.